ข้อความต้นฉบับในหน้า
การนึกถึงบุญที่ได้นั่งสมาธิในครั้งนั้น แล้วตั้งจิตแผ่บุญกุศลพร้อมทั้งความรักความปรารถนาดีไปยัง
สรรพสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ หรืออาจจะเจริญเมตตาในอิริยาบถอื่น ๆ ตลอดเวลาระหว่างการดำเนิน
ชีวิตประจำวัน ด้วยการตั้งจิตปรารถนาดีแผ่ความรักความห่วงใยไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายเรื่อยไป
อุเบกขาบารมี คำว่า “อุเบกขา” มาจากบทว่า อุเปกขา ในภาษาบาลี เป็นชื่อของมัชฌัตตภาวะ
คือ ความที่จิตเป็นกลาง อีกนัยหนึ่ง บทว่า อุเปกขา คือ ความวางเฉย
ความที่จิตเป็นกลางและความวางเฉยในที่นี้คือ การไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
ได้แก่ โลกธรรม 8 คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา และทุกข์ มีจิตใจที่หนักแน่น
ไม่ขึ้น ๆ ลง ๆ เปรียบประดุจแผ่นดินย่อมวางเฉยในของไม่สะอาดและของสะอาดที่คนทิ้งลง ปกติแผ่นดิน
ย่อมเว้นจากความโกรธและความยินดีในสิ่งต่าง ๆ
อุเบกขารวมถึงการมีจิตเที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงไปตามความยินดียินร้ายหรือเกลียดชัง ไม่ลำเอียง
ด้วยอำนาจอคติต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของคน สัตว์ และสิ่งของ
ๆ
3) ระดับของบารมี
บารมีแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ บารมีระดับต้นเรียกว่า บารมี บารมีระดับกลางเรียกว่าอุปบารมี
และบารมีระดับสูงสุดเรียกว่า ปรมัตถบารมี
บารมีทั้งหมดจึงมี 30 ทัศ คือ บารมี 10 ทัศ, อุปบารมี 10 ทัศ และปรมัตถบารมี 10 ทัศ
(1) บารมีระดับต้น เรียกว่า “บารมี” เป็นการบำเพ็ญแบบปกติธรรมดา หากเป็นทานบารมี ได้แก่
การบริจาคทรัพย์เป็นทาน ไม่ว่าจะบริจาคมากน้อยเพียงใด ก็เป็นบารมีระดับต้นอยู่ บารมีประเภทอื่น ๆ ก็
เช่นกัน คือ ยังไม่บำเพ็ญเข้มข้นถึงกับต้องแลกกับเลือดเนื้อของตน
(2) บารมีระดับกลาง เรียกว่า “อุปบารมี” เป็นการบำเพ็ญยิ่งขึ้นไปกว่าบารมีระดับแรกได้แก่ การ
บริจาคอวัยวะเลือดเนื้อในร่างกายเป็นทาน เช่น บริจาคดวงตา บริจาคเลือด อันนี้เรียกว่าทานอุปบารมี หาก
เป็นศีลอุปบารมี ได้แก่ ยอมเสียเลือดเนื้อยอมเสียอวัยวะ แต่ไม่ยอมเสียศีล อุปบารมีประเภทอื่น ๆ
ก็ทํานองเดียวกัน
(3) บารมีระดับสูงสุด เรียกว่า “ปรมัตถบารมี” เป็นการบำเพ็ญยิ่งขึ้นไปกว่าบารมีระดับกลาง ได้แก่
การบริจาคชีวิตเป็นทาน เรียกว่า ทานปรมัตถบารมี แม้ต้องเสียชีวิตก็ไม่ยอมเสียศีล นี้เรียกว่า ศีลปรมัตถ
บารมี แม้ต้องเสียชีวิตก็ไม่ยอมเสียสัจจะ นี้เรียกว่าสัจจปรมัตถบารมี ปรมัตถบารมีอื่น ๆ ก็ทำนองเดียวกัน
อุปบารมีและปรมัตถบารมีนอกจากจะเกิดขึ้นด้วยการสละอวัยวะและสละชีวิตเพื่อให้ได้มาซึ่ง
บารมีดังกล่าวแล้ว ยังเกิดขึ้นได้จากการกลั่นตัวของบุญและบารมีธรรมดาด้วย ดังที่พระเดชพระคุณ
หลวงปู่วัดปากน้ำ ได้กล่าวไว้ว่า
1
มโนรถบูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, มก.เล่ม 34 หน้า 508,
สัทธัมมปกาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค, มก. เล่ม 69 หน้า 476.
118 DOU บ ท ที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า