อุบาสก อุบาสิกาในสมัยพุทธกาล GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 239
หน้าที่ 239 / 270

สรุปเนื้อหา

ในสมัยพุทธกาล อุบาสกและอุบาสิกามาจากทุกชั้นวรรณะ โดยเฉพาะวรรณะกษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเผยแพร่พระธรรม เช่น พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์ที่เชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา ส่งผลให้มีประชาชนเข้าถึงธรรมมากขึ้น การประชุมราษฎรเพื่อฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สร้างพระโสดาบันให้กับกลุ่มผู้ฟังจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีอุบาสกจากวรรณะพราหมณ์ซึ่งมีบทบาทในการสอนคนในสังคมและทำพิธีตามลัทธิศาสนา

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของอุบาสกอุบาสิกา
-วรรณะและความเสมอภาคในพุทธศาสนา
-กษัตริย์ผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
-การเผยแผ่พระธรรมในสมัยพุทธกาล
-ผลกระทบของการฟังธรรมต่อชุมชน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประเทศจีนเจริญรุ่งเรืองมากเพราะได้รับการอุปถัมภ์จากพระเจ้าแผ่นดิน เช่น สมัยถังไทจงฮ่องเต้ เป็นต้น 8.5 อุบาสก อุบาสิกาในสมัยพุทธกาล 8.5.1 ภาพรวมอุบาสก อุบาสิกาในสมัยพุทธกาล อุบาสก อุบาสิกาในสมัยพุทธกาลมาจากชนทุกชั้นวรรณะของสังคมคือ วรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร แม้วรรณะทางสังคมจะต่างกัน แต่เมื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพุทธบริษัทแล้วมีความ เสมอภาคในการสร้างบุญบารมีเหมือนกัน 1) วรรณะกษัตริย์ เป็นชนชั้นสูงมีหน้าที่ในการปกครองบ้านเมือง ปราบปรามโจรผู้ร้ายและ ทำการรบพุ่งกับข้าศึกภายนอก ประกอบด้วยพระราชามหากษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ต่าง ๆ รวมถึงพวกที่รับ ราชการในระดับสูง เช่น ปุโรหิต เสนาบดี เป็นต้น กษัตริย์ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและได้ปฏิญาณตนเป็นอุบาสก อุบาสิกามีจำนวนมาก ประเทศ อินเดียในสมัยพุทธกาลแบ่งออกเป็นแคว้นที่มีกษัตริย์ปกครองได้ 21 แคว้น ในแคว้นเหล่านี้มีแคว้นที่จัด เป็นมหาอำนาจอยู่ 5 แคว้นคือ แคว้นมคธ โกศล อวันตี วัชชี และแคว้นวังสะ กษัตริย์ในแคว้นทั้ง 5 นี้ ต่างก็เป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนาทั้งหมดคือ พระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ พระเจ้าปเสนทิโกศลแห่ง แคว้นโกศล พระเจ้าจันทปัชโชติแห่งแคว้นอวันที่ เจ้าลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชี และพระเจ้าอุเทนแห่งแคว้น วังสะ ๆ นอกจากนี้ยังมีกษัตริย์แคว้นอื่น ๆ ที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอีก เช่น พระเจ้าสุทโธทนะแห่ง แคว้นสักกะซึ่งเป็นพุทธบิดา กษัตริย์โกลิยะแห่งแคว้นโกลิยะ เจ้ามัลละแห่งแคว้นมัลละ พระเจ้าโกรัพยะ แห่งแคว้นกุรุ และสุชาตราชกุมารแห่งแคว้นอัสสกะ เป็นต้น เมื่อกษัตริย์เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแล้วก็เป็นเหตุให้การเผยแผ่พระธรรมไปสู่ประชาชน ๆ วรรณะอื่น ๆ ในแต่ละแคว้นง่ายขึ้น เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์เสด็จไปพระนครราชคฤห์แห่งแคว้นมคธครั้ง แรกเพื่อโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ในครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารและพลเมืองคือพราหมณ์กับคหบดีถึง 11 นหุต คือ 110,000 คนได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน อีก 1 นหุตคือ 10,000 คนแสดงตนเป็นอุบาสก อีกครั้งหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสารเรียกประชุมราษฎรทั้ง 80,000 ตำบลซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์ จากนั้นก็ให้ ราษฎรทั้งหมดนั้นไปฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งนั้นมีผู้ได้ตรัสรู้ธรรมเป็นจำนวนมาก 2) วรรณะพราหมณ์ เป็นผู้ที่มีอาชีพสั่งสอนคนในสังคมและทำพิธีตามลัทธิศาสนา บางพวกก็ มีหน้าปกครองบ้านเมืองในระดับนคร หมู่บ้าน และตำบล วรรณะพราหมณ์จึงมีทั้งที่เป็นนักบวชและคฤหัสถ์ - พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 1, มก. เล่ม 6 ข้อ 58 หน้า 112-113. ชาตกัฏฐกถา อรรถกถาขุททกินกาย ชาดก, มก. เล่ม 55 หน้า 134. 2 พระวินัยปิฎก มหาวรรค, มก. เล่ม 7 ข้อ 1 หน้า 1-4. บ 8 บ ท ที่ 8 อุ บ า ส ก อุบาสิก ก า : ผู้นั่ง ใกล้ พระรัตนตรัย DOU 229
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More