การฝึกจิตตามหลักพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 49
หน้าที่ 49 / 270

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้สำรวจการฝึกจิตตามแนวทางของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการจัดการกับจิตที่มีความดิ้นรนและยากต่อการควบคุม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่าการฝึกจิตเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับผู้มีปัญญา การรักษาจิตให้เป็นมักทำให้เกิดสุขและหลุดพ้นจากทุกข์ นอกจากนี้ ยังได้อธิบายถึงขันธ์ซึ่งเป็นองค์ประกอบของชีวิตที่มีทั้งส่วนหยาบและละเอียด ซึ่งส่งผลต่อชีวิตของบุคคล เมื่อเข้าใจและปฏิบัติตามหลักนี้ ย่อมช่วยให้เห็นชัดถึงความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับสุขภาพจิตของเรา สิ่งนี้เป็นแนวทางสำคัญในการเดินทางในทางพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-การฝึกจิต
-จิตที่ดิ้นรน
-ความสุขในชีวิต
-ขันธ์ในพระพุทธศาสนา
-ธรรมชาติของจิต
-การหลุดพ้นจากทุกข์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ผนฺทน์ จปลํ จิตฺต์ ทุรกฺข์ ทุนนิวารย์ อุชุ กโรติ เมธาวี อุสุกาโรว เตชน์ วาริโชว ถเล ขิตฺโต โอก โมกตอุพฺภโต ปริผนฺทตินํ จิตต์ มารเธย์ ปหาตเว ฯ ทุนนิคคหสฺส ลหุโน ยตฺถ กามนิปาติโน จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ จิตต์ ทนต์ สุขาวห์ ฯ สุทททส์ สุนิปุณ ยตฺถ กามนิปาตินํ จิตฺต รกฺเขา เมธาวี จิตต์ คุตต์ สุขาวห์ ฯ ทรงคม เอกจร อสรีร์ คุหาสย์ อพลสสว สีมสุโส หิตวา ยาติ สุเมธโส ฯ ปภสฺสรมินํ ภิกฺขเว จิตฺต์ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฐนฺติ ฯ แต่ละประโยคนั้นแปลได้ดังนี้ 1) ชนผู้มีปัญญา ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอก อันบุคคลรักษาได้ยากห้ามได้ยาก ให้ตรง ดุจช่างศร ดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้นฯ 2) การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่เป็นการดี จิตที่ ฝึกแล้วย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้ 3) ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก ละเอียดยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้ 4) ชนเหล่าใด จักสำรวมจิตอันไปในที่ไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่ใช่สรีระหรือไม่ใช่ร่างกาย มีถ้ำ เป็นที่อาศัย ชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร คำว่าถ้ำในที่นี้คือร่างกาย ดังที่บันทึกไว้พระไตรปิฎกว่า “คำว่า กายก็ดี ถ้ำก็ดี ร่างกายก็ดี ... เรือ ก็ดี รถก็ดี ... จอมปลวกก็ดี รังก็ดี เมืองก็ดี กระท่อมก็ดี... หม้อก็ดี เป็นชื่อของกาย” 5) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแลเศร้าหมอง ด้วยอุปกิเลสที่จรมา จากข้อ 3) ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก ละเอียดยิ่งนัก....” คำว่า จิตที่เห็นได้แสนยากนั้น เป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า จิตมีรูปร่าง หากไม่มีรูปร่างก็ไม่อาจเห็นได้ แต่จิตเห็นได้ยากเพราะเป็นสิ่งที่ละเอียดยิ่งนักนั่นเอง 3.1.3 ขันธ์ส่วนละเอียด ขันธ์ซึ่งเป็นองค์ประกอบของชีวิตนั้นนอกจากจะมีส่วนหยาบแล้วยังมีส่วนละเอียดอีกด้วยดัง พุทธดำรัสว่า “สาวกของเราในศาสนานี้ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งที่เกิดขึ้นเฉพาะ ในบัดนี้ ที่เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี....4 1 2 สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ, ภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่ม 25 ข้อ13 หน้า 19-20 สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกายสฺส เอก-ทุก-ติกนิปาตา, ภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่ม 20 ข้อ 50 หน้า 11. 3 *พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส คุหัฏฐกสุตตนิทเทส, มก. เล่ม 65 ข้อ 31 หน้า 187. 4 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 19 ข้อ 401 หน้า 84. บ ท ที่ 3 ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง ชี วิ ต ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 39
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More