ข่าวร้ายและความเป็นจริงในสื่อ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 197
หน้าที่ 197 / 270

สรุปเนื้อหา

ข่าวร้ายมักเป็นหัวข้อหลักในสื่อไทย โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ เนื้อหามักเน้นเรื่องการฆาตกรรม การฆ่าตัวตาย และข่าวด้านลบของบุคคลสาธารณะ ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าประมาณ 60-80% ของข่าวที่นำเสนอเป็นข่าวร้าย ขณะเดียวกันก็มีการละเลยข่าวดีที่เกิดขึ้นในสังคม โดยเฉพาะเรื่องราวดีๆ ของพระภิกษุและสามเณร แม้ว่าจะมีพระที่ตั้งใจปฏิบัติตนดีจำนวนมาก การเสนอข่าวอาจจำเป็นต้องส่งเสริมความดีและช่วยเหลือพระที่ผิดพลาดเพื่อไม่ให้สังคมมองว่าพระไม่ดีนั้นมีมากมาย

หัวข้อประเด็น

-ผลกระทบของข่าวร้ายต่อสังคม
-สัดส่วนของข่าวในสื่อ
-การเสนอข่าวดีในสื่อ
-พระสงฆ์และการปฏิบัติธรรม
-บทบาทของสื่อต่อสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ข่าวร้าย บางข่าวก็ไม่เป็นความจริง มีคำกล่าวหนึ่งที่สะท้อนภาพของสื่อได้ชัดเจนคือ “ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดี เสียตังค์” จากการสำรวจข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับวันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 พบว่า มีทั้งหมด 11 ข่าว เป็นข่าวการเมือง 2 ข่าว ข่าวทั่ว ๆ ไป 2 ข่าว ที่เหลืออีก 7 ข่าวนั้น เป็นข่าวร้าย ทั้งสิ้น ได้แก่ การฆาตกรรม การฆ่าตัวตาย ข่าวผู้ทำผิดกฎหมาย ฯลฯ ข่าวเหล่านี้จะพิมพ์ด้วยอักษรตัวใหญ่ และมักโชว์ภาพอันน่าสยดสยองให้เห็นอย่างเด่นชัด จริง ๆ แล้วข่าวการเมืองทุกวันนี้ก็มีแต่เรื่องร้อน ๆ แฉกันไป แฉกันมา จริงบ้าง ไม่จริงบ้างก็ว่า กันไปได้ทุกวัน ข่าวทั่ว ๆ ไปที่มักถูกนำเสนอคือ เรื่องส่วนตัวด้านลบของดารา ซึ่งจะมีมาให้ได้ยินได้ฟังกัน เป็นช่วง ๆ ผู้ที่ตกเป็นข่าวหลายคนถึงกับหมดอนาคตไปเลย และยังส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบของ เยาวชนอีกจำนวนมาก โดยสังเกตได้ว่าเมื่อมีข่าวหนึ่งเกิดขึ้น ต่อมาไม่นานก็จะมีผู้ตกเป็นข่าวประเภทนั้น ตามมาเป็นช่วง ๆ ๆ หนังสือพิมพ์ฉบับอื่น ๆ ก็คล้าย ๆ กัน หากกล่าวเฉพาะข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ แล้ว ประมาณ 60-80 % เป็นข่าวร้าย เป็นข่าวด้านลบ เมื่อครั้งที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีถึงกับเอ่ยปากแก่สื่อมวลชนว่า “สื่อก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ถ้าเรามองเฉพาะในส่วนที่ เป็นด้านลบอย่างเดียว ไม่เสนอในสิ่งที่ดีงามให้กับสังคมบ้าง สังคมก็คงจะลำบาก และกล่าวว่า นายแพทย์ ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ได้พูดว่า “ถ้าเรื่องเลวเขาก็ลงในสื่อ ถ้าเรื่องดีต้องจ้างถึงลงได้” ก็เป็นเรื่องที่ ท่านทั้งหลาย ควรจะมองตัวเอง ต้องคิดดูว่าอะไรบ้างต้องช่วยกันเพื่อช่วยสังคมของเรา...” พระภิกษุและสามเณรในประเทศไทยในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 300,000 รูป จึงเป็นเรื่องธรรมดา ที่จะมีผู้ที่ประพฤติผิดพระธรรมวินัยบ้าง เพราะคนในโลกก็มีทั้งคนดีคนไม่ดี จึงเป็นไปได้ที่จะมีคนไม่ดีหลุด เข้ามาบวช แม้แต่ในสมัยพุทธกาลก็มีอยู่ไม่น้อยที่ภิกษุผิดศีลถึงขั้นปาราชิกคือขาดจากความเป็นพระ แต่ ขณะเดียวกันพระภิกษุที่ตั้งใจฝึกตนจนบรรลุธรรมเป็นพระอริยสงฆ์ก็มีจำนวนมาก แม้ในปัจจุบันพระที่ ตั้งใจปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของพระธรรมวินัยก็ยังมีอยู่มากเช่นกัน บ่อยครั้งที่มีพระภิกษุนับ 100,000 รูป มาสวดมนต์และปฏิบัติธรรมร่วมกัน ณ วัดพระธรรมกาย แต่แปลกที่ความดีของพระภิกษุเหล่านี้ไม่ค่อยได้ รับการเสนอเป็นข่าวแก่สาธารณชน คนในสังคมจึงเข้าใจไปว่าพระดี ๆ หาไม่ค่อยได้แล้ว สิ่งที่พุทธศาสนิกชนต้องทำคือ ช่วยกันดูแลรักษาพระพุทธศาสนา อุปัฏฐากพระภิกษุสามเณรให้ดี ให้ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเต็มที่ พระภิกษุสามเณรรูปใดที่ปฏิบัติชอบก็ช่วยกันส่งเสริมยกย่องให้ เป็นบุคคลต้นแบบของสังคม ผู้ที่มาบวชภายหลังจะได้เจริญรอยตาม แต่ถ้าพบพระภิกษุสามเณรรูปใด ปฏิบัติตนไม่เหมาะสม ก็ต้องช่วยกันจัดการแก้ไข ไม่นิ่งดูดาย แต่ไม่ควรนำมาประจานให้หมู่สงฆ์เสียหาย อาจ จะแก้ไขด้วยการแจ้งผู้ปกครองสงฆ์บ้าง หรือถวายความรู้ท่านบ้าง หากท่านไม่ได้ทำความผิดร้ายแรงและ สามารถกลับตัวกลับใจได้ ก็จะเป็นกำลังสำคัญของพระศาสนาต่อไป หากชาวพุทธทั้งหลายช่วยกันอย่างนี้ - หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ (2549), สุรยุทธ์ ฟังเสียงวิจารณ์ ไม่กลัวลุกเป็นไฟ ลุยล้างรัฐตำรวจ, (ออนไลน์) บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 187
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More