ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในมหาปุณณมสูตรพระพุทธองค์ยังตรัสไว้อีกว่า
ดูก่อนภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน
หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม... นี่เป็น รูปขันธ์
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปภายใน หรือมี
ในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม... นี่เป็นเวทนาขันธ์
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือ
มีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม... นี่เป็นสัญญาขันธ์
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมี
ในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม... นี่เป็นสังขารขันธ์
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน
หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม... นี่เป็นวิญญาณขันธ์.
จากพุทธดำรัสข้างต้นมีข้อสังเกตว่า ขันธ์ 5 นั้นไม่ได้มีเฉพาะส่วนหยาบอย่างเดียวแต่มีส่วน
ละเอียดด้วย และขันธ์ 5 ไม่ได้มีแต่ภายนอกอย่างเดียว แต่ยังมีขันธ์ 5 ภายในด้วยเช่นกัน
รูปขันธ์คือร่างกาย ส่วนนามขันธ์คือใจ ดังนั้น นอกจากจะมีกายและใจภายนอกแล้วยังมีกาย
และใจภายในด้วย ดังที่พระนันทาเถรีกล่าวไว้ว่า “เมื่อข้าพเจ้านั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ค้นคว้าอยู่โดยอุบาย
อันแยบคาย ได้เห็นกายทั้งภายในและภายนอก ตามความเป็นจริง ที่นั้นข้าพเจ้าจึงเบื่อหน่ายในกาย และ
คลายกำหนัดในภายใน เป็นผู้ไม่ประมาท ไม่เกาะเกี่ยวในสิ่งอะไร ๆ เป็นผู้สงบระงับดับสนิทแล้ว” หรือ
ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย.... เวทนาในเวทนา
จิตในจิต ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรม พระดำรัสนี้ก็บ่งชี้ว่ามีขันธ์ 5 อยู่ภายในกายของเราด้วย
3.1.4 ขันธ์ตามทัศนะของพระมงคลเทพมุนี
1) ประวัติพระมงคลเทพมุนี
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันในนามหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
ท่านมีชื่อเดิมว่า สด เกิดเมื่อ วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2427 ตรงกับวันแรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก ณ
หมู่บ้านเหนือ ฝั่งตรงข้าม วัดสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โยมพ่อชื่อ
เงิน แซ่จิ๋ว โยมแม่ชื่อสุดใจ มีแก้วน้อย ครอบครัวของท่านเป็นคหบดี ทำอาชีพค้าข้าวในคลองสองพี่น้อง
และอำเภอใกล้เคียง
ในวัยเด็กท่านมีใจคอเด็ดเดี่ยวมั่นคง เมื่อตั้งใจจะทำอะไรแล้วก็จะพยายามทำจนสำเร็จ ท่านคุม
2
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 22 ข้อ 123 หน้า 170-172.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา นันทาเถรีคาถา, มก. เล่ม 54 ข้อ 442 หน้า 136.
* พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สติปัฏฐานสูตร, มก. เล่ม 17 ข้อ 132 หน้า 606.
40 DOU บ ท ที่ 3 ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง ชี วิ ต ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า
ท