พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและแนวคิดเกี่ยวกับการตรัสรู้ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 105
หน้าที่ 105 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความหมายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในสองนัย และคุณสมบัติของท่านที่สามารถสร้างบารมีให้ตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ. พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมและเผยแผ่แก่คนจำนวนมากโดยใช้เวลา 45 ปีในการประกาศสติปัญญา. มีการเสนอแนวทางในการสร้างบารมี 10 ประเภทและการพัฒนาตนเองในทางพุทธศาสนาเพื่อมุ่งสู่การตรัสรู้. ที่สำคัญคือการยกย่องคุณธรรมของพระพุทธองค์และส่งเสริมให้ผู้คนมีความสุขในชีวิตผ่านการสร้างบารมีและพุทธจริยวัตร.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-บารมีที่ต้องสร้าง
-พระพุทธคุณสามประการ
-ข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์
-วัตถุประสงค์ในการสร้างบารมี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีความหมาย 2 นัย นัยแรกคือ พระธรรมกายในตัวของพระองค์ ส่วน นัยที่สองคือ บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ตรัสรู้อริยสัจ 4 และสอนให้ชาวโลกตรัสรู้ตาม พระนามของพระพุทธองค์มีหลายอย่างขึ้นอยู่กับนัยต่าง ๆ ของพระพุทธคุณ เช่น ทรงพระนาม ว่า “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เพราะตรัสรู้โดยถูกต้องด้วยพระองค์เอง, ทรงพระนามว่า “พระพิชิตมาร” เพราะ ว่าก่อนตรัสรู้ทรงเอาชนะเหล่ามารที่มาขัดขวางพระองค์ได้ ฯลฯ มนุษย์ทุกคนสามารถเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ หากตั้งความปรารถนาแล้วตั้งใจสร้างบารมี อย่างยิ่งยวด เมื่อบารมีเต็มเปี่ยมแล้วก็จะได้ตรัสรู้ธรรมในที่สุด ผู้ปราถนาพุทธภูมิจะได้เนมิตกนามว่า “พระ โพธิสัตว์” 2. พระพุทธคุณนั้นมีมากสุดที่จะพรรณนา แต่โดยย่อมี 3 ประการคือ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ 3. ก่อนตรัสรู้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าชายกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระนามว่า “สิทธัตถะ” ทรง ออกผนวชเมื่อพระชนมายุได้ 29 พรรษา และตรัสรู้ธรรมหลังผนวชได้ 6 พรรษา จากนั้นทรงเผยแผ่ธรรม จนมีคนได้ตรัสรู้ตามจำนวนมาก พระองค์ปรินิพพานหลังประกาศธรรมได้ 45 พรรษา วันประสูติตรัสรู้และ ปรินิพพานของพระองค์ตรงกันคือ วันเพ็ญเดือน 6 4. บารมีที่ต้องสร้างเพื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามี 10 ประเภท ได้แก่ “ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วีริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา” บารมีทั้ง 10 นี้มี 3 ระดับคือ ระดับต้นคือ บารมี : บำเพ็ญ แบบธรรมดาไม่ถึงกับแลกด้วยเลือดเนื้อ, ระดับกลางคือ อุปบารมี : ยอมเสียเลือดเนื้อเพื่อให้ได้บารมี และ ระดับสูงสุด คือ ปรมัตถบารมี : ยอมสละชีวิตเพื่อให้ได้บารมี วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเรื่องพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 2. สามารถนำความรู้และพุทธจริยวัตรที่ดีงามมาเป็นต้นแบบในการสร้างบารมีและดำเนินชีวิต ให้ประสบความสุขความสำเร็จได้ บทที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 95
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More