ข้อความต้นฉบับในหน้า
เหมือนกับการปฏิบัติบุญกิริยาวัตถุ ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา และบุญที่ได้จากการปฏิบัติโลกิยมรรคนี้เมื่อ
รวมตัวมากเข้าก็จะกลั่นเป็นบารมี หรือเมื่อปฏิบัติโลกิยมรรคโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ก็จะได้บุญที่เข้มข้นมาก
และเรียกบุญนี้ว่าบารมีเหมือนกัน
ดังนั้นบารมี 10 จึงสงเคราะห์เข้าในโลกิยมรรคได้
และบารมี 10 หรือ โลกิยมรรคนี้เมื่อได้ปฏิบัติมากเข้าก็จะเกิดบุญบารมีเพิ่มมากขึ้นไปตามลำดับ
เมื่อเต็มเปี่ยมแล้วในเวลาเจริญสมาธิภาวนาก็จะเข้าถึงโลกุตรมรรคได้ จะบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล
ระดับต่าง ๆ ได้ และจะหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
ดังนั้นบารมี 10 หรือ โลกิยมรรคนั้น จึงเป็นฐานให้โลกุตตรมรรคนั่นเอง หากบารมีไม่เต็มเปี่ยม
แล้วก็ไม่อาจจะบรรลุโลกุตรมรรคขั้นสูงสุดได้ ด้วยเหตุนี้พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจึงต้องใช้เวลาสร้างบารมี
อย่างน้อยก็ 20 อสงไขยแสนกัป จึงจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
4) ความสัมพันธ์ของมรรคมีองค์แปดกับอุศลธรรม
ๆ
นักศึกษาบางท่านอาจจะยังสงสัยว่า แล้วอกุศลธรรมต่าง ๆ ได้แก่ กิเลส 3 ตระกูล คือ โลภะ
โทสะ โมหะหรืออวิชชา รวมทั้งอกุศลกรรมคือ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต อยู่ตรงส่วนไหนของ
พระไตรปิฎก ความจริงอกุศลธรรมเหล่านี้ก็จัดอยู่ในมรรคมีองค์แปดได้ แต่อยู่ในส่วนที่มรรคจะต้อง
ละให้หมด เมื่อละได้หมดแล้ว ก็จะบริสุทธิ์หลุดพ้นเข้าสู่พระนิพพานได้
6.5 นิสัยปัจจัยสำคัญในการปฏิบัติมรรคมีองค์แปด
ในหัวข้อนี้กล่าวถึงความสำคัญของนิสัยต่อการปฏิบัติมรรคมีองค์แปด โดยจะกล่าวมรรคมีองค์
แปดในแง่ของกุศลกรรมที่ทำให้เกิดบุญและบารมี ส่วนกรรมที่ตรงข้ามกับมรรคมีองค์แปดจะเป็นอกุศล
กรรมซึ่งจะทำให้เกิดบาป
นิสัย หมายถึง ความประพฤติที่เคยชิน คนที่มีนิสัยอย่างไรก็จะทำอย่างนั้นบ่อย ๆ เช่น มีนิสัย
รักการนั่งสมาธิ ก็จะนั่งสมาธิอยู่บ่อย ๆ มีนิสัยชอบนินทาคนอื่น ก็จะนินทาคนอื่นอยู่บ่อย ๆ เป็นต้น นิสัย
นั้นไม่ว่าจะเป็น “นิสัยดี” หรือ “นิสัยไม่ดี” หากเราไม่ปรับเปลี่ยนก็จะติดตัวเราไปตลอดชีวิตและจะติดตัว
ข้ามชาติอีกด้วย ในบางครั้งเราจะได้ยินคำว่า “อุปนิสัย” ซึ่งหมายถึง ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาใน
สันดาน' หรือติดตัวมาข้ามชาตินั่นเอง
ในพระไตรปิฎกมีตัวอย่างเรื่องอุปนิสัยที่ติดตัวมาข้ามชาติมากมาย เช่น พระปิลินทวัจฉเถระ เป็นต้น
แม้จะเป็นพระอรหันต์แล้วแต่ท่านยังพูดกับผู้อื่นด้วยคำว่า “เจ้าถ่อย” เสมอ ซึ่งเป็นเพราะความเคยตัวที่
ติดมาจากภพอื่น การสร้างบารมี 30 ทัศ ได้แก่ ทานบารมี เป็นต้นของพระโพธิสัตว์และพระสาวกก็เหมือนกัน
ราชบัณฑิตยสถาน (2525), พจนานุกรม (ฉบับอิเล็กทรอนิกส์)
มโนรถบูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต มก., เล่ม 32 หน้า 428.
บ ท ที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า
DOU 161