ข้อความต้นฉบับในหน้า
บรรลุเป็นพระอรหันต์ในชาตินั้นได้ ผู้นั้นจะต้องมีบารมีมากกว่า นั่นคือ สุรุจิดาบสจะต้องสร้างบารมีมา
ก่อนหน้านี้นานแล้ว จนบารมีมากพอแล้วจึงรับพุทธพยากรณ์ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระอัครสาวกในอนาคต
สาเหตุที่พระสารีบุตรไม่ได้กล่าวถึงการสร้างบารมีก่อนหน้าการได้รับพุทธพยากรณ์นั้น เพราะ
ท่านระลึกชาติได้เพียง 1 อสงไขยแสนกัป หลังจากนั้นไปท่านระลึกไม่ได้ ดังนั้นชาติสุดท้ายที่ท่านระลึกได้
คือ ชาติที่ท่านได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกว่า จะได้สำเร็จเป็นพระอัครสาวกในศาสนาของพระสมณโคดม
พุทธเจ้า แม้พระสาวกเอตทัคคะก็เช่นกันคือ ท่านสามารถระลึกชาติได้เพียง 1 แสนกัป ด้วยเหตุนี้
ประวัติการสร้างบารมีชาติแรกที่พระเอตทัคคสาวกทุกท่านเล่าไว้คือ ชาติที่ท่านได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก
เมื่อ 1 แสนกัปที่แล้ว
ส่วนพระอรหันตสาวกทั่วไประลึกชาติได้น้อยกว่านี้และแต่ละรูปก็ระลึกชาติได้ไม่เท่ากัน ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับกำลังบารมีที่สั่งสมมาไม่เท่ากัน แม้จะกำจัดกิเลสได้หมดเหมือนกันก็ตาม เปรียบเสมือนบัณฑิตที่
สำเร็จปริญญามาจากสถาบันเดียวกัน แต่ความรู้ความสามารถไม่เท่ากัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความรู้และ
ความสามารถที่สั่งสมมาที่ไม่เท่ากันนั่นเอง ถึงกระนั้นบัณฑิตทุกคนก็มีความรู้พอที่ผ่านเกณฑ์การศึกษาตาม
ที่สถาบันนั้น ๆ กำหนดได้
7.7 การบริหารองค์กรสงฆ์
บริหาร แปลว่า “ปกครอง ดำเนินการ จัดการ”
องค์กรสงฆ์ ในที่นี้หมายถึง ชุมชนสงฆ์ทุกระดับตั้งแต่ระดับวัด สำนักสงฆ์ สถาบันสงฆ์ และ
หมายรวมถึงสงฆ์ในระดับประเทศและสงฆ์ทั้งหมดทั่วโลกด้วย
การบริหารองค์กรสงฆ์ หมายถึง การบริหารวัดแต่ละวัด และการบริหารสถาบันสงฆ์ในระดับที่
ใหญ่ขึ้นไปตามลำดับจนถึงระดับประเทศและระดับโลก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบริหารองค์กรสงฆ์ด้วยหลักธรรมวินัย ได้แก่ อปริหานิยธรรม เป็นต้น
อปริหานิยธรรม แปลว่า ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว อปริหานิยธรรมนี้มีความ
หมายอย่างเดียวกันกับคำว่า “วัฒนธรรม” ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
วัฒนธรรม แปลว่า สิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามแก่หมู่คณะ, วิถีชีวิตของหมู่คณะ, พฤติกรรมและ
สิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้นด้วยการเรียนรู้จากกันและกันและร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
4
อปริหานิยธรรมจึงเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่พระภิกษุได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
1 อรรถกถาพระวินัยปิฎก เวรัญชกัณฑวรรณนา ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล มก.เล่ม 1 หน้า 289.
2 อรรถกถาพระวินัยปิฎก เวรัญชกัณฑวรรณนา ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล มก.เล่ม 1 หน้า 289.
* ราชบัณฑิตยสถาน (2525), พจนานุกรม, (ฉบับอิเล็กทรอนิกส์),
*ราชบัณฑิตยสถาน (2525), พจนานุกรม, (ฉบับอิเล็กทรอนิกส์),
206 DOU
บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เ จ้ า