อนุปุพพิกถาและพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 168
หน้าที่ 168 / 270

สรุปเนื้อหา

อนุปุพพิกถาประกอบด้วยการให้ทาน, การรักษาศีล, และทิพยสมบัติที่ได้จากการทำบุญ และมีการเตือนถึงโทษของกามซึ่งนำไปสู่การเวียนว่ายตายเกิด โดยการทำความดีตามอริยสัจ 4 นั้นช่วยให้เกิดความเข้าถึงพระรัตนตรัย. พระไตรปิฎกประกอบไปด้วยพระธรรมจำนวน 84,000 ข้อ แบ่งเป็นพระวินัย, พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งแต่ละหมวดมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาศีล, สมาธิ และปัญญา. ความสัมพันธ์ระหว่างบุญกิริยาวัตถุกับหลักธรรมด้านต่าง ๆ ช่วยให้มีการปฏิบัติธรรมที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ.

หัวข้อประเด็น

- อนุปุพพิกถา
- พระไตรปิฎก
- บุญกิริยาวัตถุ
- การปฏิบัติธรรม
- อริยสัจ 4
- ไตรสิกขา
- ความสัมพันธ์ของหลักธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อนุปุพพิกถา ประกอบด้วย (1) ทานกถา คือ การให้ทาน (2) สีลกถา คือ การรักษาศีล (3) สัคคกถา คือ ทิพยสมบัติบนสวรรค์อันเป็นผลจากการให้ทานและรักษาศีล (4) โทษความต่ำทรามความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย (5) อานิสงส์ในความออกจากกาม จริง ๆ แล้วอนุปุพพิกถานี้ก็คือบุญกิริยาวัตถุ 3 ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนานั่นเอง เพียงแต่ ขยายความบางประเด็นเพิ่มขึ้นเท่านั้น กล่าวคือ เพิ่มสัคคกถา คือ เรื่องทิพยสมบัติบนสวรรค์อันเป็นผล จากการให้ทานและรักษาศีล ส่วนข้อ (4) โทษความต่ำทรามความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และข้อ (5) อานิสงส์ใน ความออกจากกาม เป็นการชี้ให้เห็นโทษของทิพยสมบัติต่างๆ อันเป็นเรื่องของกามสุขที่จะทำให้มนุษย์ เวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไปไม่อาจหลุดพ้นได้ เมื่อผู้ฟังเห็นโทษของกามแล้วก็จะได้ตั้งใจฟังอริยสัจ 4 ต่อไป ซึ่งจุดประสงค์สูงสุดของ การตรัสอริยสัจ 4 คือ เพื่อต้องการให้ผู้ฟังเจริญอริยมรรคมีองค์แปดด้วยการทำสมาธิภาวนานั่นเอง เมื่อ ปฏิบัติถูกส่วนก็จะเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว และจะกำจัดกิเลสไปตามลำดับ จนหมดในที่สุด ดังนั้น อนุปุพพิกถา ก็คือ บุญกิริยาวัตถุนั่นเอง 5) ภาพรวมพระไตรปิฎก พระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อขยายความแล้วจะได้มากถึง 84,000 ข้อ หรือ 84,000 พระธรรมขันธ์ โดยจัดอยู่ในพระวินัยปิฎก 21,000 ข้อ จัดอยู่ในพระสุตตันตปิฎก 21,000 ข้อ และจัดอยู่ใน พระอภิธรรมปิฎก 42,000 ข้อ พระไตรปิฎกหากนำมาเชื่อมโยงกับไตรสิกขาและโอวาทปาฏิโมกข์จะได้ดังนี้คือ พระวินัยปิฎก คือ ศีลสิกขา หรือ การไม่ทำบาปทั้งสิ้น สุตตันตปิฎก คือ จิตสิกขา หรือ การยังกุศลให้ถึงพร้อม พระอภิธรรมปิฎก คือ ปัญญาสิกขา หรือ การทำจิตของตนให้ผ่องใส 6.4.3 ความสัมพันธ์ของหลักธรรมแต่ละหมวด ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึง 4 ประเด็นคือ ความสัมพันธ์ของบุญกิริยาวัตถุกับไตรสิกขา, ความสัมพันธ์ ของบุญกิริยาวัตถุกับบารมี 10 ทัศ, ความสัมพันธ์ของมรรคมีองค์แปดกับบารมี 10 ทัศ และความสัมพันธ์ ของมรรคมีองค์แปดกับอกุศลธรรม 1) ความสัมพันธ์ของบุญกิริยาวัตถุกับไตรสิกขา บุญกิริยาวัตถุ ประกอบด้วย ทาน ศีล ภาวนา ส่วนไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา 158 DOU บ ท ที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More