ข้อความต้นฉบับในหน้า
-ความเพียร ประคองจิต ตั้งใจมั่น เพื่อทำให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
สัมมาสติ แปลว่า ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ เพื่อกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา...
การพิจารณาเห็นจิตในจิต... การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ เพื่อกำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
คำว่า อภิชฌา แปลว่า ความคิดเพ่งเล็งจ้องจะเอาสิ่งของของคนอื่น
สัมมาสมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่นชอบ หมายถึง การที่ใจเป็นสมาธิหยุดนิ่งไปตามลำดับ
ตั้งแต่ เบื้องต้นไปจนถึงได้ฌานระดับต่าง ๆ แต่ยังไม่ถึงขั้นเข้าสู่ระดับโลกุตรภูมิ ได้แก่ ความเป็นพระ
โสดาบัน เป็นต้น สัมมาสมาธิต่างจากมิจฉาสมาธิตรงที่เวลาฝึกต้องวางใจไว้ในตัว ซึ่งหลวงปู่วัดปากน้ำ
แนะนำว่า จะต้องวางใจไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เหนือสะดือ 2 นิ้วมืออันเป็นตำแหน่งที่จะนำไปสู่
มรรคผลนิพพานได้ ส่วนการวางใจนอกตัวถือว่าเป็นมิจฉาสมาธิผู้ฝึกวิธีนี้ไม่อาจจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้
(2) โลกุตรมรรคคือมรรคฝ่ายโลกุตระ
โลกุตรมรรคเป็นมรรคที่เกิดจากการเข้าถึงโลกุตรภูมิตั้งแต่ภูมิของพระโสดาบัน พระสกทา
คามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ โดยสัมมาสมาธิจะเป็นศูนย์กลางขององค์มรรคทั้งปวงดังที่ได้ยก
พุทธดำรัสไว้ในบทที่ 4 ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ “สัมมาสมาธิ” ที่เป็นอริยะอันมีเหตุ มีองค์ประกอบคือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งประกอบแล้วด้วยองค์ 7 เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิ
ที่เป็นอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง”
6.3.2 ระดับของอริยสัจ
อริยสัจนั้นมี 2 ระดับคือ ระดับต้น และ ระดับสูง
1) ระดับต้น หมายถึง การที่เราได้ศึกษาพระธรรมคำสอนเรื่องอริยสัจดังกล่าวจนมีความรู้ว่า
อริยสัจประกอบด้วย ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์คือตัณหา ความดับทุกข์คือนิโรธ และทางดับทุกข์คือมรรคมีองค์ 8
การรู้นี้เป็นการรู้ด้วย “วิญญาณขันธ์” ของกายมนุษย์
เมื่อได้ศึกษาจนมีความรู้และนำมาพิจารณาไตร่ตรองรวมทั้งสังเกตสภาพชีวิตของตนและคนในโลก
ก็จะเข้าใจถึงทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และทางดับทุกข์ได้ชัดเจนขึ้น
แต่ความรู้ดังกล่าวยังอยู่ในระดับต้นคือระดับรู้ และระดับรู้คิดอันเป็นความรู้ประเภทสุตมยปัญญา
และจินตามยปัญญา ยังไม่ถึงขั้นภาวนามยปัญญา
2) ระดับสูง หมายถึง การนำความรู้ที่ได้ศึกษามาปฏิบัติจนเกิดความรู้แจ้งด้วยการเห็นแจ้ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค มก. เล่ม16 ข้อ 230 หน้า 179.
บทที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า
DOU 153