ข้อความต้นฉบับในหน้า
ผู้ที่ตั้งใจสร้างบารมีเพื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเรียกว่า “พระโพธิสัตว์” หมายถึงสัตว์ผู้
ปรารถนาพุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ก็เป็นปุถุชนคนธรรมดาทั่วไป แต่เป็นผู้ที่มีความตั้งใจพัฒนาศักยภาพตัวเอง
ด้วยการสร้างบารมีอย่างแรงกล้า เมื่อบารมีเต็มเปี่ยมแล้วก็ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ สามารถ
เป็นศาสดาสอนผู้อื่นให้ตรัสรู้ตามได้ ตำแหน่งศาสดาในพระพุทธศาสนาจึงไม่ได้มีใครมาแต่งตั้งให้ เป็นของ
สาธารณะทั่วไปแก่ทุกคน
ส่วนศาสนาเทวนิยมทั้งหลายมักกล่าวว่า พระเจ้าเป็นผู้แต่งตั้งศาสดาในศาสนานั้นๆ จึงเป็น
ตำแหน่งที่ไม่สาธารณะแก่คนทั่วไป เช่น พระอัลเลาะห์แต่งตั้งให้มุฮัมหมัดเป็นศาสดาสั่งสอนศาสนาอิสลาม
เป็นศาสนทูตคือตัวแทนของพระเจ้าบนพื้นพิภพ มีศาสนทูตปรากฏอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอาน 25 ท่าน โดย
มุฮัมหมัดเป็นศาสนทูตคนล่าสุด... พระอัลเลาะห์จะไม่ส่งศาสนทูตมาอีก ในศาสนาโซโรอัสเตอร์บันทึกไว้ว่า
พระเจ้าคือ พระอหุระ มาซดะ แต่งตั้งให้โซโรอัสเตอร์เป็นศาสดาสอนศาสนาของพระองค์” ท่าน “นานัก
ศาสดาในศาสนาซิกข์ก็เช่นเดียวกัน วันหนึ่งท่านเข้าไปบำเพ็ญจิตในป่าและได้พบพระเจ้า พระเจ้าทรงยื่น
น้ำทิพย์ถ้วยหนึ่งให้นานักดื่ม แล้วบอกให้นานักออกประกาศศาสนา
5.2 พระพุทธคุณ
5.2.1 พระพุทธคุณมีมากสุดพรรณนา
คำว่า คุณ ในปัจจุบันใช้ใน 2 ความหมาย คือ ความดีงาม และ คุณประโยชน์ พระพุทธคุณ จึง
หมายถึง ความดีงามและคุณประโยชน์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่า “แม้พระพุทธเจ้าจะพึงพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้า หากไม่
ตรัสอย่างอื่นแม้ตลอดกัป กับก็จะพึงหมดสิ้นไปในระหว่างกาลนาน คุณของพระตถาคตทั้งหลายก็ไม่หมดสิ้น”
เพราะในท่ามกลางความทุกข์ในสังสารวัฏนี้ไม่มีใครเลยที่จะชี้แนะหนทางพ้นทุกข์ให้แก่ผู้อื่นได้นอกจาก
พระพุทธองค์ และการจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้นั้นยากมากประดุจการว่ายข้ามทะเลน้ำทองแดงที่
เดือดพล่าน ฉะนั้น
การที่พระพุทธองค์ตรัสว่าพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์มีมากจนไม่อาจจะ
พรรณนาได้หมดนั้น ไม่ได้เป็นการยกยอสรรเสริญพระองค์เอง แต่ตรัสตามความเป็นจริง และที่สำคัญ
พระองค์ทรงหมดกิเลสแล้วย่อมไม่ตรัสความเท็จใด ๆ ทั้งสิ้น
รศ.ฟื้น ดอกบัว. (2539), ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 205
รศ.ฟื้น ดอกบัว (2539), ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 208.
* รศ.ฟื้น ดอกบัว, (2539), ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 77.
4 รศ.ฟื้น ดอกบัว. (2539), ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 229.
กัป หมายถึง หน่วยเวลาที่ยาวนานมากจนไม่อาจจะนับประมาณได้
* ปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย อุทาน, อรรถกถาอาหุสูตร, มก. เล่ม 44 หน้า 609.
100 DOU บ ท ที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท ท