ข้อความต้นฉบับในหน้า
ความกว้างของ 1 โลกธาตุขนาดใหญ่ที่มีกล่าวไว้พระไตรปิฎกเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสว่าโลกธาตุไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียวแต่มีเป็นหมื่นเป็นแสนโลกธาตุที่เดียว" นี้คือความมหัศจรรย์ของ
องค์ความรู้ในพระพุทธศาสนา
ทางด้านการแพทย์นั้นก็มีหลายอย่างที่น่าสนใจ เช่น ในสมัยพุทธกาลวิชาการแพทย์มีความ
ก้าวหน้ามากถึงกับมีการผ่าตัดสมองและลำไส้ด้วย ทั้ง ๆ ที่การผ่าตัดครั้งแรกด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน
ในเมืองไทยเพิ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อในรัชกาลที่ 3 หรือ 170 กว่าปีมานี้เอง นอกจากนี้การดีทอกซ์ (Detox) และ
การอบซาวน่า (Sauna) เพื่อขับพิษก็ไม่ได้เป็นสิ่งใหม่ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระภิกษุใช้วิธีเหล่านี้
รักษาสุขภาพกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว โดยห้องอบซาวน่าในสมัยพุทธกาลนั้นเรียกว่า “เรือนไฟ”
สำหรับสังคมศาสตร์นั้นก็มีองค์ความรู้ที่สำคัญและน่าสนใจดังนี้คือ มีทั้งด้านรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ วาทศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งความรู้เหล่านี้ปรากฏอยู่ในพระวินัยและพระสูตรต่าง ๆ เช่น อธิปไตย
สูตร, ราชสูตร, จักกวัตติสูตร ฯลฯ พระสูตรเหล่านี้ว่าด้วยเรื่องการปกครองตนเอง และการปกครอง
ประเทศของพระราชาในอดีต, กูฏทันตสูตร ว่าด้วยการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาศีลธรรมของผู้
ปกครองผู้ทรงธรรม, สิงคาลกสูตร ว่าด้วยหน้าที่ของบุคคลที่พึงปฏิบัติต่อกันในสังคม ส่วนในพระวินัยปิฎก
นั้นเป็นเรื่องกฎระเบียบสำหรับควบคุมความประพฤติของพระภิกษุ จึงเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับนิติศาสตร์
โดยตรง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
สำหรับมนุษยศาสตร์นั้นเป็นเนื้อหาหลักของคำสอนในพระพุทธศาสนา เพราะจุดประสงค์หลักใน
การตรัสสอนธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ เพื่อช่วยให้มนุษย์พ้นจากความทุกข์ ซึ่งเกิดจากความเกิด
ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความเศร้าโศกเสียใจเพราะการพลัดพรากจากคนหรือสิ่งของอันเป็นที่รัก ฯลฯ
คำสอนเรื่องความพ้นทุกข์นี้หาไม่ได้จากตำราเรียนวิชาชีพทางโลก หาไม่ได้จากมหาวิทยาลัยบริหารธุรกิจ
ที่มีชื่อเสียง หาไม่ได้จากทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ แต่มีกล่าวไว้เฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น
คำสอนนี้จึงเป็นลักษณะพิเศษยิ่งของพระพุทธศาสนา
2.5.3 คำสอนยึดหลักกรรมลิขิตไม่ใช่พรหมลิขิต
มีอยู่หลายศาสนาโดยเฉพาะศาสนาเทวนิยมสอนว่า วิถีชีวิตของมนุษย์และความเป็นไปของโลก
ขึ้นอยู่กับพระเจ้าสูงสุดในศาสนาของตน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกรรมคือการกระทำของตัวเอง เช่น ศาสนาอิสลาม
สอนว่า “ความเป็นไปต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคน ไม่ว่าอายุยืนอายุสั้น เจริญหรือตกต่ำ เป็นต้น
ล้วนเกิดจากการดลบันดาลของพระอัลเลาะห์ทั้งสิ้น... พระอัลเลาะห์จึงเป็นเจ้าชีวิตและทุกสิ่งทุกอย่าง”
2
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ มก. เล่ม 22 ข้อ 325 หน้า 408-409.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค และ ทุติยวรรค, มก. เล่ม 9 ข้อ 78 หน้า 29.
บ ท ที่ 2 ค ว า ม
มรู้ทั่วไป ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 21