ข้อความต้นฉบับในหน้า
“ดวงบุญที่เกิดจากการบำเพ็ญทานได้เป็นดวงบุญ ดวงบุญใหญ่โตเล็กเท่าไรไม่ว่าสร้างไปเถอะ
ทำไปเถอะ แล้วเอาดวงบุญนั้นมากลั่นเป็นบารมี ดวงบุญมากลั่นเป็นบารมีนะ บุญมีคืบหนึ่ง... เอามากลั่น
เป็นบารมีได้นิ้วเดียวเท่านั้นเอง กลมรอบตัวเท่านั้นแหละ กลั่นไปอย่างนี้แหละทุกบารมี ไปจนกว่าบารมี
นั้นจะเต็มส่วน แล้วก็บารมีที่จะเป็นอุปบารมี
เอาบารมีนั้นแหละ คืบหนึ่งเต็มส่วน เอามากลั่นเป็นอุปบารมีได้นิ้วเดียว
แล้วเอาอุปบารมีนั้นแหละคืบหนึ่ง กลมรอบตัว เอามากลั่นเป็นปรมัตถบารมีได้นิ้วเดียว
การกลั่นตัวของบุญเป็นบารมี การกลั่นตัวของบารมีเป็นอุปบารมี และการกลั่นตัวของอุปบารมี
เป็นปรมัตถบารมีนั้น เป็นการกลั่นด้วยตัวของมันเอง กล่าวคือ เมื่อสั่งสมบุญไปมาก ๆ บุญนั้นก็จะกลั่นตัว
เป็นบารมีเอง บารมีเมื่อมีมากเข้าก็จะกลั่นเป็นอุปบารมีเอง และอุปบารมีเมื่อมีมากเข้าก็จะกลั่นตัวเป็น
ปรมัตถบารมีเองเช่นกัน
เมื่อบุญกลั่นตัวเป็นบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมี ได้เต็มจำนวน (30 ทัศ) วัดเส้นผ่านศูนย์กลาง
ได้ 1 คืบ เสมอกันหมดแล้ว สำหรับผู้ที่ปรารถนาเพียงนิพพาน โดยการเป็นพระอริยสาวกองค์ใดองค์หนึ่ง
บารมีเพียงเท่านี้ก็จะทำให้บรรลุความเป็นปกติสาวกได้ส่วนผู้ที่ปรารถนาจะสร้างบารมีเป็นพระอสีติมหาสาวก
พระอัครสาวก และพระพุทธเจ้าเหล่านี้ ก็ต้องสร้างบารมีแต่ละบารมีให้มีส่วนโตกว่าจำพวกแรกนี้ขึ้นไป
เป็นลำดับ”4
5.4.4 การสละอวัยวะและชีวิตเพื่อพุทธภูมิมีจริงหรือ
นักศึกษาบางท่านที่เพิ่งศึกษาพระพุทธศาสนาอาจจะสงสัยว่า การสร้างบารมีแบบเอาชีวิตเป็น
เดิมพันด้วยการสละอวัยวะเป็นทานบ้าง สละชีวิตเป็นทานบ้าง หรือการยอมตายแต่ไม่ยอมเสียศีลของ
พระโพธิสัตว์เพื่อหวังพุทธภูมินั้นมีจริงหรือ หรือว่าเป็นเพียงตำนานที่แต่งขึ้นเพื่อเพิ่มความศรัทธาแก่
พุทธศาสนิกชนเท่านั้น เพราะธรรมดามนุษย์ย่อมรักชีวิตของตนมากที่สุด จนมีคำกล่าวว่า หากมีคนนำ
ก้อนไฟมาวางบนศีรษะของเราและศีรษะของพ่อแม่พร้อมกัน ร้อยทั้งร้อยคนจะปัดก้อนไฟบนศีรษะตนก่อน
แล้วค่อยช่วยพ่อแม่ทีหลัง
การจะอธิบายเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจนจะต้องเปรียบเทียบกับกรณีอื่น ๆ นักศึกษาหลายท่านอาจจะ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)(2538), พระธรรมเทศนา 69 กัณฑ์, กัณฑ์ 52 สิ่งที่หาได้โดยยาก หน้า 608-609.
ฉลวย สมบัติสุข (2492), คู่มือสมภาร, หน้า 156
พระอสีติมหาสาวก แปลว่า พระสาวกผู้ใหญ่ 80 รูป หมายถึง พระสาวกที่บารมีมากกว่าพระอรหันตสาวกทั่วไป
ได้แก่ พระมหากัสสปเถระ พระอานนท์เถระ พระอนุรุธเถระ พระมหากัจจายนเถระ เป็นต้น ส่วนพระอัครสาวก แปลว่า
พระสาวกผู้เลิศ มี 2 รูป คือ พระสารีบุตรเถระ และ พระมหาโมคคัลลานเถระ
ฉลวย สมบัติสุข (2492), คู่มือสมภาร, หน้า 156. จัดพิมพ์รวมไว้กับประวัติหลวงพ่อวัดปากน้ำ มีชื่อหนังสือว่าประวัติ
หลวงพ่อวัดปากน้ำและคู่มือสมภาร จัดทำโดย วัดปากน้ำภาษีเจริญและสมาคมศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2529,
คู่มือสมภารนี้เรียบเรียงขึ้นภายใต้การควบคุมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ
บทที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุทธเจ้า DOU 119