ความแตกต่างของสัตว์โลกตามกรรม GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 180
หน้าที่ 180 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความแตกต่างของสัตว์โลกที่เกิดจากกรรมที่แต่ละคนสร้างขึ้น โดยยกตัวอย่างขอทานและเศรษฐีที่มีความแตกต่างกันในชีวิตและรายได้ แม้จะเกิดมาในสถานะที่แตกต่างกัน แต่กรรมยังเป็นตัวแปรที่ทำให้เกิดความแตกต่าง ทั้งในด้านการเงิน สติปัญญา และอาชีพ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรื่องกรรมในจูฬกัมมวิภังคสูตร ซึ่งเป็นพื้นฐานในการอธิบายถึงการเกิดความแตกต่างในสัตว์โลกด้วย

หัวข้อประเด็น

-ความแตกต่างของสัตว์โลก
-ความสำคัญของกรรม
-ตัวอย่างจากชีวิตประจำวัน
-คำสอนของพระพุทธเจ้า
-การเปรียบเทียบระหว่างคนจนและคนรวย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เกินไป ก็จมลงในน้ำได้ฉันใด นรชนทำบาปทีละน้อย ๆ จนบาปมากขึ้น ก็จมลงไปในนรกได้ฉันนั้น เพราะ ฉะนั้น ผู้ที่วิดน้ำในเรือ ทำให้เรือเบา ก็จะข้ามฟากไปถึงท่า คือ นิพพานได้ฉันนั้น ๆ 6.7.3 สัตว์โลกแตกต่างกันเพราะกรรม กรรมนั้นเป็นทั้งช่างผู้ปั้นแต่งรูปร่างหน้าตาของเรา เป็นบรรพบุรุษผู้มอบมรดกให้แก่เรา เป็น องค์รักษ์พิทักษ์ความปลอดภัย รวมทั้งเป็นอะไรต่ออะไรให้เราอีกมากมาย และที่สำคัญกรรมเป็นสาเหตุ สำคัญที่ทำให้มนุษย์แต่ละคนและสัตว์ทั้งหลายมีความแตกต่างกัน ขอทานที่นั่งนับเศษเงินตั้งแต่เกิดมีอยู่มากมาย เราเห็นพวกเขาเสมอกันหมด แต่เชื่อหรือไม่พวก เขารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างกัน ขอทานบางคนได้เศษเงินมากมายเป็นกอบเป็นกำ ในขณะที่ ขอทานบางคนมีรายได้น้อย และต้องร่อนเร่หาที่ปักหลักใหม่อยู่เรื่อย ๆ ทำนองเดียวกัน แม้มีศัพท์อย่าง เป็นทางการ เช่น เศรษฐี เอาไว้ใช้ยังไม่พอ ต้องมีการขยายเป็น มหาเศรษฐี และ อภิมหาเศรษฐี เข้าไปอีก คนจนก็ย่อมเปรียบเทียบและเห็นความต่างระหว่างคนจนด้วยกันง่าย คนรวยก็เช่นกัน ย่อม เปรียบเทียบและเห็นความแตกต่างระหว่างคนรวยด้วยกันไม่ยากนัก และไม่ใช่น้อยเลยที่ไม่ได้เป็นเศรษฐี ชั่วชีวิต คือ รวยเดี๋ยวเดียวก็ประสบหายนะในรูปแบบต่าง ๆ ถูกโกงบ้าง ถูกปล้นเอาซึ่ง ๆ หน้าบ้างหรือถูก ภัยจากน้ำและไฟทำลายเอาบ้าง ๆ และคนรวยก็มีความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งติดตัวอยู่ระหว่าง เกิดมารวย กับ ขยันทำงานจนรวย ทางด้านสติปัญญาก็เช่นกัน เศรษฐีบางคนไม่ค่อยทันคน ไม่ทันเกมคนอื่น แต่กลับทำเรื่องตกตะลึงให้กับ คู่แข่งอยู่เสมอ เอาชนะนักทำงานที่เต็มไปด้วยสติปัญญาสามารถอย่างไม่น่าเชื่อ ตำรามหาวิทยาลัยธุรกิจ จำต้องกัดฟันใส่คำว่า เก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเฮงด้วย คำว่าเฮงเพียงคำเดียวอาจล้มล้างทฤษฎีต่าง ๆ ทั้งหมด ประกันความสำเร็จได้สูงสุด งๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงเรื่องความแตกต่างเพราะกรรมไว้ในจูฬกัมมวิภังคสูตรซึ่งสามารถ สรุปผลของกรรมต่าง ๆ ได้ 7 ประการ ทั้ง 7 ข้อนี้ไม่ได้เป็นความแตกต่างกันทั้งหมดของมนุษย์ เป็นเพียง ตัวอย่างสำคัญ ๆ ที่พบเห็นได้ทั่วไปเท่านั้น ปุ้ย แสงฉาย (2511), มิลินทปัญหา, หน้า 127 ดังตฤณ (2548), เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน, หน้า 81-82. 170 DOU บ ท ที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More