อริยสัจ 4: ความจริงอันประเสริฐ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 156
หน้าที่ 156 / 270

สรุปเนื้อหา

อริยสัจ 4 เป็นแก่นสารของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยความจริงเกี่ยวกับทุกข์และทางดับทุกข์ โดยแต่ละองค์ประกอบถูกระบุอย่างชัดเจน เช่น ทุกข์ที่มี 12 ชนิด เช่น ชาติทุกข์ ชราทุกข์ และมรณทุกข์ รวมไปถึงการตีความของแต่ละประเภทของทุกข์ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญของการปฏิบัติในพุทธศาสนา ในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น อริยสัจถือเป็นทางนำไปสู่การหลุดพ้นจากทุกข์ โดยการเข้าใจและปฏิบัติตาม.

หัวข้อประเด็น

-อริยสัจ 4
-ทุกข์และการดับทุกข์
-หลักการของพระพุทธศาสนา
-มรรคมีองค์ 8
-ประเภทของทุกข์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ทั้ง 4 ข้อนี้คือ อริยสัจ 4 นั่นเอง สำหรับพุทธดำรัสก่อนพุทธปรินิพพานนั้นพระองค์ตรัสถึง “พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค และข้อปฏิบัติอื่น ๆ” โดยอริยสัจ 4 นี้ก็คือพระธรรม ส่วน มรรค และ ข้อปฏิบัติอื่น ๆ ก็เป็นหนึ่งในอริยสัจ 4 ซึ่งก็คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรคมีองค์ 8 นั่นเอง คำว่า “อริยสัจ” มาจากสองคำคือ อริย + สัจ คำว่า อริย แปลว่า ประเสริฐ คำว่า สัจ แปลว่า ความจริง ดังนั้น อริยสัจ จึงหมายถึง ความจริงอันประเสริฐ อริยสัจแต่ละประการมีความหมายและองค์ ประกอบดังนี้ 6.3.1 องค์ประกอบของอริยสัจ อริยสัจมีองค์ประกอบ 4 ประการคือ ทุกข์ คือ ความทุกข์, ทุกขสมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ ทางดับทุกข์ 1) ทุกขอริยสัจ' ทุกขอริยสัจ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐเรื่องทุกข์ ทุกข์ แปลว่า สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก สภาพที่ทนอยู่ไม่ได้เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นแล ความดับสลายเนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง ทุกข์แบ่งออกเป็น 12 ประการคือ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกทุกข์ ปริเทวทุกข์ โทมนัสทุกข์ อุปายาสทุกข์ ทุกขทุกข์ อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ ทุกข์ทั้ง 12 ประการนี้สรุปรวมลงใน “อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์” 1 (1) ชาติทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะการเกิด (2) ชราทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะความแก่ (3) พยาธิทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะความเจ็บป่วย (4) มรณทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะความตาย (5) โสกทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะความเศร้าใจ (6) ปริเทวทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะตัดอาลัยไม่ขาด (7) ทุกขทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะความไม่สบายกาย (8) โทมนัสทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะความไม่สบายใจ (9) อุปายาสทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะความแค้นใจ (10) อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะประสบสิ่งที่เกลียด (11) ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่รัก (12) ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะผิดหวัง พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มก., เล่ม 14 ข้อ 294-295 หน้า 232. 146 DOU บ ท ที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More