การสร้างบารมีเพื่อบรรลุพระโพธิญาณ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 132
หน้าที่ 132 / 270

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้ครอบคลุมหลักการสร้างบารมีในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการพัฒนาบารมีต่างๆ เช่น ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี และเมตตาบารมี ที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถบรรลุพระโพธิญาณได้ ผ่านการประพฤติปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและมีความอดทน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการบรรลุธรรม และวิธีในการส่งเสริมการสร้างบารมีตามที่ปรากฏในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

หัวข้อประเด็น

-การสร้างบารมี
-ปัญญาบารมี
-วิริยบารมี
-ขันติบารมี
-สัจจบารมี
-อธิษฐานบารมี
-เมตตาบารมี
-อุเบกขาบารมี
-การบรรลุพระโพธิญาณ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ฉันนั้น จงเห็นภพเหมือนเรือนจำ เป็นผู้มุ่งหน้าออกบวชเพื่อพ้นจากภพนั้น ปัญญาบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ ภิกษุเมื่อขออยู่ไม่เว้นตระกูลต่ำ สูง และ ปานกลาง ย่อมได้อาหารเป็นเครื่องยังชีพ ฉันใด ท่านก็ฉันนั้น เมื่อไต่ถามชนผู้รู้อยู่ตลอดกาลทั้งปวงถึง ความเป็นปัญญาบารมี จักได้บรรลุพระสัมโพธิญาณ วิริยบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ พญาราชสีห์มฤคราช เป็นผู้มีความเพียร ไม่ย่อหย่อนในการนั่ง การยืน และการเดิน ประคองใจไว้ในกาลทุกเมื่อ ฉันใด ท่านก็ฉันนั้น จงประคอง ความเพียรไว้ให้มั่นตลอดทุกภพ ถึงความเป็นวิริยบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ ขันติบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ ธรรมดาแผ่นดินย่อมอดกลั้นสิ่งทั้งปวง ที่เขา ทิ้งลงสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ไม่กระทำการขัดเคือง เพราะการกระทำนั้น ฉันใด ท่านก็ฉันนั้น เป็นผู้ อดทนต่อการนับถือและการดูหมิ่นของคนทั้งปวง ถึงความเป็นขันติบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ สัจจบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ ธรรมดาดาวประกายพรึกเป็นดุจคันชั่ง คือ เที่ยงตรงในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ไม่ว่าในสมัย ฤดู หรือปีก็ตาม ย่อมไม่โคจรและเวียนออกนอกวิถีโคจร ฉันใด ท่านก็ฉันนั้น ไม่ออกไปนอกทางสัจจะทั้งหลาย ถึงความเป็นสัจจบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ อธิษฐานบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ ภูเขาหินไม่หวั่นไหว คงตั้งอยู่ตามเดิม ไม่สะเทือนเพราะลมแรงกล้า คงตั้งอยู่ในที่ของตนเอง แม้ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น จงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวใน อธิษฐานในกาลทั้งปวง ถึงความเป็นอธิษฐานบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ เมตตาบารมี หากท่านปรารถนาเพื่อจะบรรลุพระโพธิญาณ ธรรมดาน้ำย่อมแผ่ความเย็นไปให้ คนดีและคนเลวโดยเสมอกัน ชะล้างมลทินคือธุลีออกได้ ฉันใด ท่านก็ฉันนั้น จงเจริญเมตตาให้สม่ำเสมอ ในชนที่เกื้อกูลและไม่เกื้อกูล ท่านถึงความเป็นเมตตาบารมีแล้วจักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ อุเบกขาบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ ธรรมดาแผ่นดินย่อมวางเฉย ในของไม่ สะอาดและของสะอาดที่คนทิ้งลง เว้นจากความโกรธและความยินดีทั้งสองนั้น ฉันใดท่านก็ฉันนั้น จงเป็น ประดุจตาชั่งในสุขและทุกข์ในกาลทุกเมื่อ ถึงความเป็นอุเบกขาบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ หลักการสร้างบารมีเหล่านี้สุเมธดาบสได้มาจากการนั่งสมาธิระลึกชาติไปตรวจดูการสร้างบารมี ของพระโพธิสัตว์ผู้ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต ดังคำกล่าวของท่านที่ว่า “เรานั่งขัดสมาธิแล้ว คิดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีความชำนาญในฌาน ถึงที่สุดแห่งอภิญญาในหมื่นโลกธาตุ ฤาษีผู้เสมอเหมือนเรา ไม่มี.... เราจักค้นหาพุทธการกธรรม... เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นทานบารมีเป็นข้อที่ 1 ซึ่งเป็นทางใหญ่อัน พระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อนประพฤติมา จึงเตือนตนเองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ 1 นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อน ท่านจงบำเพ็ญทานบารมีเถิด ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุโพธิญาณ ท่านเห็นยาจกทั้งชั้นต่ำ ปานกลาง และ ชั้นสูงแล้ว จงให้ทานอย่าให้เหลือดังหม้อที่เขาคว่ำไว้ เปรียบเหมือนหม้อที่เต็มด้วยน้ำ ผู้ใดผู้หนึ่งจับคว่ำ ลงแล้ว น้ำย่อมไหลออกหมดไม่ขังอยู่ในหม้อนั้น ฉะนั้น” พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 2 ที่ปังกรพุทธวงศ์ที่ 1 ฉบับสยามรัฐ เล่ม 33 ข้อ 2 หน้า 304. 122 DOU บ ท ที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More