การเวียนว่ายตายเกิดในพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 59
หน้าที่ 59 / 270

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อธิบายเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดตามคำสอนของพระพุทธเจ้า รวมถึงความหมายของสังสารวัฏและพุทธพจน์เกี่ยวกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ในหลายชาติที่ผ่านมา พระพุทธองค์สอนว่าการเวียนว่ายตายเกิดไม่สามารถกำหนดได้ว่าเริ่มต้นหรือสิ้นสุดเมื่อใด ชีวิตและความตายเป็นวงจรที่ไม่สิ้นสุดหากยังมีเหตุปัจจัยการเกิดอยู่ ในพระสุตตันตปิฎกมีการอธิบายถึงความทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากและการเกิดใหม่อยู่อย่างละเอียด นอกจากนี้พระพุทธองค์ยังใช้การเปรียบเทียบความยาวนานของการเวียนว่ายตายเกิดกับภูเขาขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจถึงความสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีสติและปัญญา

หัวข้อประเด็น

-การเวียนว่ายตายเกิด
-สังสารวัฏ
-ความเชื่อในพระพุทธศาสนา
-พุทธพจน์ที่เกี่ยวข้อง
-หลักการคิดในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เมื่อเนื้อใจชั้นที่ 2 จำไว้ได้แล้ว ก็ส่งต่อไปยังเนื้อใจชั้นที่ 3 ซึ่งทำหน้าที่คิด แยกแยะหาเหตุหาผล ตามแต่ข้อมูลที่ได้รับเข้ามา เมื่อคิดแยกแยะหาเหตุผลแล้วก็ส่งต่อไปยังเนื้อใจชั้นที่ 4 ที่อยู่ลึกกว่า เบา โล่ง และประณีต มากยิ่งขึ้นไปอีก ทำหน้าที่ตัดสินใจ สรุปข้อมูลที่ได้รับมาทั้งหมดเป็น “รู้” ซึ่งความรู้นี้ จะถูกนำไปใช้เป็น ความเชื่อต่อไปข้างหน้า 3.2 การเวียนว่ายตายเกิด 3.2.1 สังสารวัฏวงจรการเวียนว่ายตายเกิด สังสารวัฏ หมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด คำที่มีความหมายเหมือนกันมีอีก เช่น วัฏสงสาร, สังสาร ทุกข์, สังสารจักร, สังสาร และ สงสาร จากความหมายนี้ทำให้เราทราบว่า ชีวิตมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ไม่ได้มีเพียงชาติเดียว คนเราตายแล้วไม่สูญ แต่จะมีการเวียนว่ายตายเกิดไปเรื่อยๆหากยังมีเหตุปัจจัยแห่ง การเกิดอยู่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าการเวียนว่ายตายเกิดนี้ไม่สามารถกำหนดเบื้องต้นและเบื้องปลายได้ กล่าวคือ ไม่อาจบอกได้ว่าสรรพสัตว์มีการเวียนว่ายตายเกิดกันมาตั้งแต่เมื่อไรและจะสิ้นสุดลงเมื่อไร สมัยหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นพระพุทธองค์ ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า สงสารกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อบุคคลหนึ่งท่องเที่ยวไปมาอยู่ ตลอดกัปหนึ่ง จึงมีโครงกระดูก ร่างกระดูก กองกระดูกใหญ่เท่าภูเขาเวปุลละนี้ ภูเขาเวปุลละนั้นเป็น ภูเขาที่อยู่ไม่ไกลกับภูเขาคิชฌกูฏ ในอัสสุสูตรพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้... น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมาโดยกาลนานนี้แหละมากกว่าน้ำใน มหาสมุทรทั้ง 4... พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของมารดา.... บิดา... ของพี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว.... ของบุตร... ของธิดา... คร่ำครวญร้องไห้อยู่.... เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจนั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำใน มหาสมุทรทั้ง 4 ไม่มากกว่าเลย... นอกจากนี้พระพุทธองค์ยังตรัสอีกว่า ผู้ที่ไม่เคยเป็นบิดามารดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิงน้องหญิง บุตรธิดา ไม่เคยเป็นสามีภรรยากัน ฯลฯ มิใช่หาได้ง่ายเลย ราชบัณฑิตยสถาน (2525), พจนานุกรม, (ฉบับอิเล็กทรอนิกส์) * กัป คือ หน่วยวัดเวลาซึ่งยาวนานมาก อุปมาเหมือนภูเขาหินแท่งทึบกว้าง 16 กิโลเมตร ยาว 16 กิโลเมตร สูง 16 กิโลเมตร ทุก 100 ปี จะเอาผ้าเนื้อละเอียดลูบครั้งหนึ่ง และลูบอย่างนี้เรื่อยไปยาวนานจนกว่าภูเขาจะสึกเตียนเสมอ พื้นดิน แต่กัปหนึ่งมีความยาวนานกว่านั้นอีก พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค, บุคคลสูตร, มก. เล่ม 26 ข้อ 440-441 หน้า 521. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค, อัสสสูตร, มก. เล่ม 26 ข้อ 425-426 หน้า 509-511. 5 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค มก. เล่ม 26 ข้อ 550-555 หน้า 529, ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มก. เล่ม 42 หน้า 57. บ ท ที่ 3 ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง ชี วิ ต ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า 3 DOU 49
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More