แนวคิดการบำเพ็ญบารมีและพระพุทธองค์ ธรรมะเพื่อประชาชน ฉบับการบำเพ็ญบารมี หน้า 22
หน้าที่ 22 / 554

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจแนวคิดการบำเพ็ญบารมีที่พระพุทธเจ้าได้แสดงให้เห็นถึงการบรรเทาทุกข์และชี้ทางสู่พระนิพพานแก่เหล่าสาวก โดยเน้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างคำพูดและการกระทำของพระองค์ที่ตรงกันตลอดเวลา พระพุทธองค์ตรัสว่าท่านเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในโลกนี้ พร้อมทั้งยกตัวอย่างว่าในทุกหมู่สัตว์ ท่านสามารถแสดงธรรมอย่างชัดเจน โดยมีคุณสมบัติที่สามารถครอบงำได้ทั้งในทางโลกและทางธรรม ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ท่านเป็นที่เคารพนับถือ.

หัวข้อประเด็น

-การบำเพ็ญบารมี
-พระพุทธองค์
-ธรรมะและคุณธรรม
-การเห็นแจ้งในธรรม
-ภาพลักษณ์ของตถาคต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ธรระพี ประช แนวคิด การบำเพ็ญบารมี(๒) บรรเทาทุกข์ ชี้สุขเกษมศานต์ และชี้ทางพระนิพพานแก่เหล่า สาวก ให้พ้นจากทุกข์โศกโรคภัยพิบัติต่างๆ ตามพระองค์ไปด้วย พระพุทธองค์ยังทรงเป็น ยถาวาที ตถาการี ยถาการี ตถาวาที คือ ตรัสอย่างไร ทรงทำอย่างนั้น ทรงทำอย่างไรก็ตรัสอย่างนั้น ความคิด คำพูด และการกระทำของพระพุทธองค์จะสอดคล้อง กันหมด เมื่อได้ตรัสวาจาใดไปแล้ว วาจานั้นจะไม่กลายเป็น อย่างอื่น เป็นคำจริง และเป็นอมตวาจาตลอดกาล นอกจากนี้ ที่พระพุทธองค์ได้สมัญญานามว่า ตถาคต เพราะพระองค์ทรงครอบงำสรรพสัตว์ เบื้องบนถึงภวัคคพรหม เบื้องล่างถึงอเวจีมหานรก เบื้องขวาในโลกธาตุ หาประมาณมิได้ ทรงครอบงำสรรพสัตว์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติ ญาณทัสสนะ พระองค์เป็นผู้ไม่มีใครเทียบเคียงได้ ใครๆ ก็ ประมาณพระทศพลญาณของพระองค์ไม่ได้ ทรงเป็นธรรมราชา ที่พระราชาทรงบูชา คือ เป็นพระราชาที่ยิ่งกว่าราชา เป็นเทพที่ ยิ่งกว่าเทพ เป็นพรหมที่ยิ่งกว่าพรหมทุกหมู่เหล่า ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก และพรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ เทวดาหรือมนุษย์ ตถาคตเป็น ผู้ยิ่งใหญ่ ใครๆ ก็ครอบงำไม่ได้ เป็นผู้รู้แจ้ง เห็นแจ้งโลกทั้งปวง ฉะนั้น จึงได้รับพระนามว่า ตถาคต”
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น