ข้อความต้นฉบับในหน้า
มหาชนด้วย
ธรรมะ ประชา
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๒ (
๒ (สืบหาบัณฑิต)
๓๔๖
เมื่อสร้างศาลาเสร็จ บัณฑิตน้อยจะเรียกช่างศิลป์มา
เขียนภาพอันวิจิตรตระการตา โดยเป็นผู้คอยกำกับ ศาลานี้
บังเกิดขึ้นอย่างงดงามเปรียบเสมือน สุธรรมาเทวสภา หลังจาก
สร้างศาลา ก็ให้ขุดสระโบกขรณีด้วยดำริว่า เพียงแค่ศาลาใหญ่
ยังไม่งดงามเพียงพอ หากไม่มีสระก็จะไม่เป็นที่บันเทิงใจ สระจะ
ทำให้ศาลาน่าอยู่ขึ้น และรู้สึกเย็น สระโบกขรณีมีลักษณะเป็น
เวิ้งกว้างลดเลี้ยวอย่างมีศิลปะนับได้พันกุ้งมีท่าน้ำสำหรับลงอาบ
และแม้มหาชนจะมากันมากมาย ก็สามารถกระจายกันลงไป
อาบนํ้าได้อย่างสบาย โดยไม่ต้องเบียดเสียดกัน
ทัศนียภาพของสระมีความเป็นธรรมชาติ มีดอกบัวงดงาม
บัณฑิตน้อยได้ให้ปลูกดอกอุบลและปทุม ยามมีดอกก็บาน
สะพรั่งสลับกันหลากสี น้ำในสระใสเย็น มองเห็นได้ถึงพื้นดิน ฝูง
ปลาก็พากันว่ายเวียนวนไปมา ราวกับสุนันทาโบกขรณีอันมีใน
ดาวดึงสพิภพ บัณฑิตน้อยได้จัดการเป็นที่เรียบร้อย โดยหวัง
อนุเคราะห์มหาชน มุ่งท่าสถานที่ให้เป็นทาน สมณพราหมณ์ทั้ง
หลายต่างมารับภัตตาหารที่นี่ ทำให้มหาชนมีโอกาสได้ท่าทาน
และได้ใช้สถานที่แห่งนี้ตามอัธยาศัยอย่างสบายใจ
ยิ่งไปกว่านั้น ในกาลอันควร บัณฑิตน้อยยังก้าหนดให้มี
การประชุมกันในห้องโถงของศาลา ทั้งได้แนะนำมหาชนในสิ่งที่