ธรรมะเพื่อประชาชน: มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๖ ธรรมะเพื่อประชาชน ฉบับการบำเพ็ญบารมี หน้า 460
หน้าที่ 460 / 554

สรุปเนื้อหา

เรื่องของมโหสถบัณฑิตที่ต้องลี้ภัยการเมืองเพราะถูกเสนกะคนในราชสำนักกล่าวหาว่าเป็นกบฏ แม้ว่ามโหสถให้บริการบ้านเมืองด้วยความเที่ยงธรรม แต่ลาภสักการะทำให้เกิดความอิจฉาริษยา เขานำเรื่องราวที่แสดงให้เห็นว่าความโลภและอิจฉาอาจทำลายคนที่มีคุณธรรมอย่างมโหสถได้ นอกจากนี้ยังมีบทเรียนที่สอนให้เราเข้าใจว่าลาภสักการะที่มากเกินไปอาจนำไปสู่โทษเมื่อไม่รู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์.

หัวข้อประเด็น

-ลาภสักการะ
-ความโลภ
-อิจฉาริษยา
-มโหสถการเมือง
-บทเรียนจากธรรมะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ม ธรรมะเพื่อประช มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๖ ลี้ภัยการเมือง) ៤៥៩ อ้อ ลาภสักการะฆ่าคนโง่ ลาภสักการะไม่เคยทำความปรารถนา ของคนพาลให้เต็มอิ่มได้ มีน้อยก็อยากได้มาก มีมากก็อยากได้ มากยิ่งๆ ขึ้นไป แม้มีทรัพย์สินเงินทองกองท่วมฟ้า แต่เมื่อใช้ ทรัพย์นั้นไม่เป็น ไม่ก่อประโยชน์ต่อโลก ก็จะทําให้เกิดโทษแทน เหมือนดังเรื่องมโหสถบัณฑิต แม้รับราชการด้วยความ เที่ยงธรรมตลอดมา ยังถูกกล่าวหาว่า ตั้งตนเป็นกบฏ ลักขโมย ของมีค่าในราชสำนัก ซึ่งเกิดจากความโลภ ความอิจฉาริษยา ของอาจารย์เสนกะ ซึ่งเป็นผู้ร่วมงานในราชสำนักนั้นเอง เพราะข้อกล่าวหาอันฉกรรจ์ จึงทำให้มโหสถต้องลี้ภัยการเมือง *เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อมโหสถเข้ารับราชการช่วยบริหารงาน บ้านเมือง จนเจริญรุ่งเรือง มียศตำแหน่งใหญ่โตเป็นที่ยอมรับ ของทุกคน เป็นที่รักของชาวเมือง ทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณ ลาภสักการะของเสนกะ และพรรคพวกทั้ง ๔ คน ต้องลดน้อย ถอยลง เหมือนดวงอาทิตย์อุทัยฉายแสงในยามรุ่งอรุณ เป็น เหตุให้ดวงจันทร์ และดวงดาวทั้งหลายต้องอับแสง เสนกะจึง เกิดความอิจฉาริษยาและหาทางที่จะกำจัดมโหสถบัณฑิต วันหนึ่ง เสนกะได้แอบปรึกษาหารือกับปุกกุสะ กามินทะ *มก. มโหสถบัณฑิต เล่ม ๒๓ หน้า ๓๙๐
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น