ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประช
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๔ (ยักษ์จำแลง)
๓๖๑
ความสงสาร หรือหวั่นไหวไปตามอาการของลูกที่เจ็บปวด”
มหาชนได้ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า
“ผู้เป็นมารดาเท่านั้น ที่จะ
รู้สึกอย่างนี้ได้มากกว่าใครๆ เพราะเมื่อคราวลูกอยู่ดีมีสุข ใจ
มารดาก็แช่มชื่น คราวลูกเจ็บไข้ได้ทุกข์ ใจมารดาก็พลอยเดือด
ร้อนไปด้วย นี่เป็นธรรมดาของผู้เป็นมารดา”
มโหสถจึงสรุปว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายคงรู้แล้วว่า
ฝ่ายหญิงที่ได้เด็กไปนั้นเป็นผู้กล่าวตู่ เป็นผู้ขโมยเด็ก เขาไม่ใช่
มารดาที่แท้จริง” แม้มหาชนพอจะแยกแยะว่า คนไหนเป็น
มารดาของเด็ก แต่ยังไม่มั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ มโหสถจึงชี้ไปที่
นางยักษิณี พลางบอกให้มหาชนรู้ว่า “หญิงคนนี้ไม่ใช่เป็นมนุษย์
แต่เป็นยักษิณี จะมาแย่งเด็กไปกินเป็นอาหาร สังเกตได้จากลูก
นัยน์ตาแดงก่ำแข็งกระด้าง ไม่กะพริบเลย และตัวก็ไม่มีเงา
คนอย่างนี้มีที่ไหน มิหนำซ้ำจิตใจยังผิดมนุษย์อีกด้วย ทารุณโหด
ร้าย เด็กอ่อนแท้ๆ นางยังกล้ายื้อแย่งดึงไป เด็กจะเจ็บจะร้อง
อย่างไรก็ไม่สนใจ เพียงขอให้ได้เด็กไปเท่านั้น มนุษย์แท้จะมี
จิตใจอย่างนี้มิได้” พลางเอ่ยถามนางยักษ์ว่า “เจ้าเป็นใครอย่า
โกหกเรา”
นางยักษ์รู้ว่า ไม่สามารถปกปิดอัตภาพของตนได้ จึง
ต้องเปิดเผยความจริง ว่านางเป็นยักษิณี กำลังแสวงหาเด็ก
ทารกไปเป็นอาหาร มโหสถกุมารจึงถือโอกาสแนะนำสั่งสอน