ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรระพี ประช
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑ ๓ (ปัญญา ประเสริฐกว่าทรัพย์)
๔๓๕
ได้นำเรื่องการโต้ตอบกันของบัณฑิตในสมัยก่อน ที่ท่านมีความ
เห็นว่า แม้ขาดทรัพย์แต่ไม่ไร้ปัญญา ยังประเสริฐกว่าคนมี
ทรัพย์แต่ไร้ปัญญาอย่างไร
*เรื่องมีอยู่ว่า พระราชเทวีอุทุมพร ทรงรู้ว่าบัณฑิตทั้งสี่
สามารถตอบปริศนาธรรมของพระราชาได้เพราะมโหสถ แต่
ก็ได้ลาภสักการะเท่ากัน จึงกราบทูลพระราชาตามความเป็นจริง
พระราชาดำริว่า ที่ผ่านมาก็แล้วกันไป ทรงมีพระราชประสงค์
จะทดลองปฏิภาณไหวพริบ แนวความคิดของบัณฑิตทั้งห้าว่า
ใครจะแสดงความเห็นได้ถูกต้อง และถูกพระทัยมากกว่ากัน จึง
คิดปัญหาอย่างหนึ่ง เรียกว่าสิริเมณฑกปัญหา ซึ่งเป็นปัญหา
ระหว่างปัญญาและทรัพย์ว่า อะไรจะประเสริฐกว่ากัน
เช้าวันหนึ่ง เมื่อบัณฑิตทั้งห้ามาเข้าเฝ้าตามปกติ พระ
ราชาได้ตรัสกับเสนกะว่า “ท่านอาจารย์เสนกะ บรรดาคน ๒ พวก
คือ คนสมบูรณ์ด้วยปัญญาแต่เสื่อมจากสิริ และคนมียศแต่ไร้
ปัญญา นักปราชญ์บัณฑิตยกย่องใครว่าประเสริฐกว่ากัน” เสนกะ
กราบทูลเฉลยปัญหานั้นทันทีว่า “ข้าแต่พระจอมประชาราษฎร์
คนฉลาด และคนเขลา คนบริบูรณ์ด้วยศิลปะ และหาศิลปะมิได้
*มก. มโหสถบัณฑิต เล่ม ๒๓ หน้า ๓๗๐