ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรระพี ประช
เดินตามทางของบัณฑิต(๓)
๒๓๗
คุณธรรมประการสุดท้าย คือ ควรรู้ถ้อยคำของผู้ขอ
หมายถึง เมื่อมีใครมาขอความช่วยเหลือ หากไม่เหลือวิสัยที่เรา
จะช่วยได้ ก็ไม่ควรด่วนปฏิเสธ ถึงแม้จะช่วยเหลือในด้านแรง
กายหรือกำลังทรัพย์ไม่ได้ ก็ควรแนะนำหนทางที่ดี เราจะไม่
ช่วยเหลือใครเพราะความจําใจ แต่จะทําด้วยความเต็มใจ นี่เป็น
คุณธรรมของบัณฑิตผู้ได้ชื่อว่าดำรงอยู่ในธรรม
*เหมือนดังเรื่องของมัจฉริยโกสิยเศรษฐี
ปรารภเหตุ
จากการที่ท่านอยากกินข้าวปายาส จึงบอกภรรยาว่า จะไปแอบ
หุงกินคนเดียวอยู่ในป่า เพราะเกรงจะมีคนมาพบเห็น แล้วขอ
กินข้าวปายาสที่ตัวเองหุง ภรรยาก็จัดแจงเครื่องปรุง และ
อุปกรณ์ทุกอย่างให้
วันนั้น เศรษฐีผู้มีความตระหนี้ให้คนใช้นำผ้าห่ออุปกรณ์
สิ่งของทั้งหมด และให้ถือไปส่งในป่า คนใช้ก็หอบหิ้วอุปกรณ์
เครื่องครัวไป ทําเตาที่โคนกอไม้ หาฟืน และน้ำมาติดไฟหุงข้าว
ปายาส เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างพร้อมหมด จากนั้นเศรษฐีสั่งให้
ออกไปยืนเฝ้าปากทางเข้า เพื่อคอยห้ามผู้คนเข้ามา จากนั้น
เศรษฐีก็เอาผ้าคลุมศีรษะเพื่อปกปิดอัตภาพของตนเอง
ขณะเดียวกันนั้นเอง ท้าวสักกเทวราชซึ่งกำลังเสวย
*มก. สุธาโภชนชาดก เล่ม ๖๒ หน้า ๔๖๓