ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรระพี ประช
แนวคิด การบำเพ็ญบารมี(๕)
៤៩
คนธรรมดาทั่วไปที่ไม่ได้ตั้งความปรารถนา จึงตามความคิดของ
พระบรมโพธิสัตว์ไม่ทัน ท่านกล้าคิด กล้าพูด และกล้าที่จะ
ทำความดี ที่ไม่มีใครในโลกเคยทำมาก่อน นี่คือวิริยบารมีของท่าน
ท่านยังสอนตนเองว่า จะบำเพ็ญวิริยบารมีให้เหมือนกับ
พญาราชสีห์ที่ฝึกอิริยาบถตนเองมาดีแล้วทุกอิริยาบถ ทั้งนั่ง
นอนยืนเดินต้องสง่างาม เพราะราชสีห์เป็นจ้าวป่า อิริยาบถก็
ต้องเหมาะกับความเป็นจ้าวป่า เวลานอนก็รักษาความเป็นจ้าว
ป่าไว้ มีสติสัมปชัญญะ ไม่กลิ้งเกลือกไปมาเหมือนสุกร เวลา
ตื่นขึ้นหากท่านอนไม่เรียบร้อยเหมือนตอนก่อนนอน แม้จะหิว
เท่าไรก็จะไม่ยอมออกหากิน จะฝึกใหม่ แม้นอนยังต้องฝึก
ความเพียรต้องมากถึงขนาดนั้น ท่านสอนตนเอง และฝึกตนเอง
อย่างยิ่งยวดอย่างนั้น
ต่อมา เมื่อกล้าทําความดี บางครั้งอาจได้ยินเสียง
วิพากษ์วิจารณ์ เย้ยหยันดูถูกดูแคลนจากคนที่ไม่เข้าใจ บารมี
ต่อไปที่ต้องรักษาให้ยิ่งยวดขึ้นไป คือ ขันติบารมี เพราะเมื่อ
กล้าเปลี่ยนแปลงความไม่ดีที่เคยทำอยู่ กล้าทำความดีที่ใครๆไม่
กล้าท้า เสียงค่อนขอดวิพากษ์วิจารณ์ย่อมเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น
ขันติบารมีก็ต้องตามมา ความอดทนเป็นตบะธรรมอย่างยิ่งที่จะ
ชนะกิเลสในตัว ต้องรักษาใจให้เป็นปกติ ไม่หวั่นไหวในปัญหา
หรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น อีกทั้งไม่หลงในคำสรรเสริญเยินยอ