ข้อความต้นฉบับในหน้า
Bssumaประช
แนวคิดการบำเพ็ญบารมี (5)
๕๗
ประการ ตั้งแต่ทานบารมีเรื่อยมาจนถึงอุเบกขา และที่สุดแล้ว
ต้องวางใจเป็นกลางในธรรมทั้งหลาย สุขก็ดีทุกข์ก็ดี เหมือน
แผ่นดินที่เมื่อคนทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ย่อมเป็น
กลางได้ในทุกสภาวะฉันใด แม้การสร้างบารมีเป็นพระพุทธเจ้า
ก็ฉันนั้น จะต้องมีอุเบกขาบารมีธรรมจนถึงที่สุด
ต่อจากนั้นท่านพิจารณาเห็นว่า พุทธการกธรรมที่เป็น
เครื่องบ่มโพธิญาณให้แก่รอบจะต้องบำเพ็ญบารมีทั้ง ๑๐ ทัศ
ให้เต็มเปี่ยมครบถ้วนบริบูรณ์ ธรรมอย่างอื่นที่ยิ่งกว่านี้ไม่มี
บารมีทั้ง ๑๐ ทัศนั้น ไม่ได้อยู่ที่ไหน ไม่มีในเบื้องสูง ในอากาศ
ภายใต้แผ่นดิน หรือในทิศทั้งหลาย แต่ตั้งอยู่ภายในใจที่อยู่ใน
กายนี้ เมื่อพิจารณาจนทะลุปรุโปร่งเช่นนั้นแล้ว จึงอธิษฐานบารมี
ทั้งหมด พิจารณาทบไปทวนมา ยึดบารมี ๑๐ ทัศ อุปบารมี ๑๐
และปรมัตถบารมี ๑๐ ประการ รวมเป็น ๓๐ ประการ พิจารณา
จนมั่นใจว่า สิ่งที่ได้ไตร่ตรองมาทั้งหมดนั้น ตรงตามร่องรอยที่
พระบรมโพธิ์สัตว์ทั้งหลายประพฤติกันมา
ในขณะที่ท่านกำลังพิจารณาบารมีทั้ง ๑๐ ทัศอยู่นั้น
มหาปฐพีก็สะเทือนเลื่อนลั่น เกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหวขึ้นมา
ทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองต่างไม่อาจทรงตัวยืนอยู่ได้ เหมือน
ศาลาหลังใหญ่ที่ถูกลมพายุโหมพัดอย่างหนัก มหาชนพากัน