ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประชา
แนวคิดการบำเพ็ญบารมี(๕)
៤៨
ยุคสมัยที่หาผู้คนจะรู้ธรรมสักบทก็ไม่มี แต่รู้ว่าหนุ่มจัณฑาลเป็น
คนมีปัญญา ก็อ่อนน้อมถ่อมตนเข้าไปเรียนวิชา หรือบางชาติ
แค่คำว่า เทวธรรมคืออะไร ก็ไม่มีใครรู้ มีเพียงยักษ์ตนเดียว
เท่านั้นที่มีอายุยืน เคยได้ยินได้ฟังมาจากผู้รู้ในอดีต ถ้าอยากรู้
ต้องกระโดดเข้าปากให้ยักษ์กินเป็นค่าตอบแทน พระโพธิสัตว์ก็
ยินยอมโดยไม่เสียดายชีวิต ขอเพียงก่อนตายให้ได้ฟังคำว่า
เทวธรรมคืออะไร นี่ท่านค่อยๆ เริ่มสั่งสมปัญญาบารมีของท่าน
มาอย่างนี้
บารมีประการต่อมาที่ท่านได้ตรวจตราดูดีแล้วทรงพบว่า
ความบกพร่องในตัวจําเป็นต้องรีบแก้ไขรับปรับปรุงจึงจําเป็นต้อง
มีวิริยบารมีเข้ามาเสริม และนอกจากจะมีความเพียรพยายาม
ไม่สิ้นสุดแล้ว จะต้องกล้าเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คำว่า กล้า มาจากคำว่า วีระ หรือวิริยะ หมายถึง กล้า
ที่จะแก้ไขความบกพร่องของตนเอง สิ่งใดที่ไม่ดีเคยชินอยู่กับ
สิ่งนั้น ก็ปฏิวัติใหม่ให้ดีขึ้น และกล้าที่จะละเว้นหรือหลีกเลี่ยง
ความไม่ดีทั้งหลายที่เคยทำไว้ สิ่งไม่ดีใดที่ยังไม่เคยทำก็จะไม่ทำ
จากนั้นยังกล้าที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นไปอีก ความดีที่
มีอยู่ให้รักษาไว้ อีกทั้งพอกพูนให้มากขึ้น ความดีอะไรที่ยังไม่
เคยทำ หรือที่คนในโลกไม่กล้าทำ ท่านก็กล้าทำ เพราะการจะ
บรรลุประโยชน์อันสูงสุดได้นั้นต้องบำเพ็ญบารมีที่ยิ่งยวด