ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประชา
แนวคิด การบำเพ็ญบารมี (5)
៥៤
*หลังจากที่สุเมธดาบสพิจารณาถึงบารมีทั้ง 5 ประการ
แล้ว ท่านได้ไตร่ตรองไปอีกว่า
สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือทั้งลาภยศ
สรรเสริญ คำยกย่องชมเชย นั่นคือเมื่อมีความรู้ความสามารถ
และลาภสักการะเกิดขึ้นแล้ว อาจเป็นเหตุให้ใจหวั่นไหวออก
นอกเส้นทางแห่งความดีที่ตั้งใจไว้ได้ ดังนั้นพระโพธิสัตว์จึงต้อง
ทําเพ็ญสัจจบารมี คือ จะไม่ออกนอกทางแห่งความดีที่ตั้งใจไว้
ถึงแม้จะมีลาภยศมามอบให้ ฉะนั้นก็ไม่ยอมออกนอกเส้นทาง
เหมือนกับดาวประกายพรึกจะโคจรอยู่ในเส้นทาง ไม่ออกนอก
เส้นทาง
นอกจากจะไม่ออกนอกเส้นทางแล้ว เมื่อทำงานใหญ่
มากขึ้น อุปสรรคที่ต้องเจอ คือ ผลประโยชน์ ความอิจฉาริษยา
และความหวาดระแวง คนเราเมื่อตั้งใจจะทำความดี ก็จะมีคนที่
อยากทำความดีตามเราไปด้วย แต่คนที่อิจฉาริษยาก็จะคอย
ขัดขวางเรา เพราะกลัวเสียหน้าบ้าง กลัวเสียผลประโยชน์บ้าง
บางยุคบางสมัยพระโพธิสัตว์ก็ถูกใส่ความ ถูกลอบสังหารบ้าง
เพราะความดีที่ทําไปนั้นทําให้คนพาลอิจฉาริษยา และไปขัดผล
ประโยชน์ ทําให้เขาเกิดความระแวงอยากจะก๋าจัดออกไปให้พ้น
ทั้งยังต้องเจอกับเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง เจออุปสรรคมากมาย แต่
*มก. ทูเรนิทาน เล่ม ๕๕ หน้า ๓๘