ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะ ประช
เดิน ต า ม ท า ง ข อ ง บัณฑิต(๔)
๒๔๔
ความเคารพเอื้อเฟื้อ ไม่เบียดเบียนกัน เราสามารถให้ทานได้
หลายรูปแบบ เช่น การให้วัตถุสิ่งของ ข้าว น้ำ เสนาสนะ ให้
วาจาอันไพเราะ ให้อภัยทาน ให้วิทยาทาน และธรรมทาน การ
ให้เป็นประเพณีของคนดี ของบัณฑิตนักปราชญ์ที่ประพฤติ
ปฏิบัติสืบต่อกันมา ยิ่งให้ก็ยิ่งได้ คุณความดีก็ก่อเกิด เพราะ
เป็นการสละความตระหนี่ และความโลภออกจากใจ ความโล่ง
โปร่ง เบา สบาย ก็เข้ามาแทนที่ การให้ยังเป็นการสั่งสมเสบียง
สำหรับการเดินทางในสังสารวัฏอันยาวไกล เป็นมงคลของชีวิต
ทั้งในภพนี้และภพหน้า
เหมือนดังเรื่องมัจฉริยโกสิยเศรษฐีผู้มีความตระหนี้ใน
ทรัพย์สมบัติ นอกจากจะไม่ยอมให้ใครใช้ทรัพย์แล้ว ขนาดตัวเอง
ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์แท้ๆ ยังไม่ยอมใช้จ่ายสมบัติเหล่านั้น ต่าง
กับภาวะของคนทั่วไปในสังคมปัจจุบัน เรามักจะเห็นเศรษฐีที่
ตระหนี่ในการบริจาค แต่ตัวเองใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย แม้
ของกินของใช้จะแพงแค่ไหน ก็กล้าทุ่มเงินซื้อหามา แสวงหา
เครื่องอ้านวยความสะดวกต่างๆ ให้คนเขาชื่นชมว่า ตัวเองเป็น
คนร่ำรวย แต่เศรษฐีท่านนี้กลับตระหนี่เป็นอย่างมาก จึงเป็น
สิ่งที่พวกเราควรศึกษาว่า ทำอย่างไร ท่านจึงจะเป็นคนรวย
ทั้งทรัพย์และน้ำใจ รวยทั้งภพนี้และทุกภพทุกชาติ
ตอนที่แล้วท้าวสักกเทวราชได้เสด็จลงจากเทวโลก เพื่อ