ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรระพี ประช
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๒ (สืบหาบัณฑิต)
ม
๓๔๕
สามัญชนที่พึงจะกระทำได้ อย่างน้อยก็อาศัยความรู้ความ
สามารถของผู้ที่มีปัญญาระดับนักปราชญ์บัณฑิตทีเดียว” คิด
ดังนั้นจึงได้ไต่ถามบุคคลที่มาพักผ่อนอยู่บริเวณนั้น
เป็นการออกแบบของบัณฑิตน้อยอายุเพียง ๗ ขวบ เท่านั้น
จึงรู้ว่า
ท่านอ่ามาตย์ได้ชักใช้ไล่เลียงเรื่องราวของกุมารผู้เป็น
บัณฑิตอย่างละเอียดลออ และได้เขียนรายงานกราบทูลพระราชา
มีใจความว่า “ณ บ้านยวมัชฌคาม ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก
มีศาลาหลังหนึ่งมีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า “ศาลาเด็กน้อย” เพราะ
ผู้สร้างคือเด็กมีอายุเพียง ๗ ขวบ โดยเป็นผู้กำหนดแผนผังของ
ศาลาหลังนี้ตั้งแต่แรกเริ่ม ทั้งเป็นผู้ชักชวนเพื่อนๆ รุ่นราว
คราวเดียวกัน ขอทรัพย์จากบิดามารดา ให้มาร่วมทุนกันคนละ 9
กษาปณ์ ได้เงินรวม 9,000 กษาปณ์ จากนั้นบัณฑิตน้อย จะ
เป็นผู้สั่งงานให้ช่างทําตามที่ตนออกแบบทุกประการ
มีห้องพักที่จัดไว้เพื่อ
ศาลาหลังนี้แบ่งเป็นส่วนๆ
อนุเคราะห์มหาชนที่มาขออาศัย มีห้องสำหรับชนทั่วไป หญิง
อนาถาคลอดบุตร สมณพราหมณ์ คฤหัสถ์ผู้เดินทาง และห้อง
เก็บสินค้าของพ่อค้าผู้มาพัก บริเวณศาลามีสนามเล่นกว้างขวาง
สามารถให้เด็กจํานวนเป็นพันลงมาเล่นพร้อมๆ กันได้ และยังมี
ห้องโถงกว้างขวาง ซึ่งเป็นห้องประชุมใหญ่สำหรับเวลามีเรื่อง
ราวที่จะต้องวินิจฉัย และยังเป็นสถานที่สําหรับให้การอบรมแก่