ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประชา
แนวคิดการบำเพ็ญบารมี(๔)
๔๐
ท่านสอนตนเองต่อไปอีกว่า จะบำเพ็ญศีลบารมีให้
เหมือนกับจามรีรักษาขนหาง คือ ธรรมชาติของจามรีเป็นสัตว์
ที่รักขนหางยิ่งชีวิต ขนของจามรีสวยงามมาก มันจะรักขนหาง
ของตนเองมาก หากขนหางไปติดที่กอหนาม มันจะค่อยๆ ปลด
ขนหางจนกว่าจะหลุด โดยไม่ยอมให้ขนหางนั้นขาด สุเมธดาบส
ได้นํามาเป็นอุทาหรณ์สอนตนว่า ต้องรักศีล เหมือนจามรีรักขน
หางของมันฉะนั้น
ศีลเป็นเครื่องกลั่นธาตุในตัว กลั่นกายวาจาใจให้สะอาด
บริสุทธิ์ ทันทีที่รักษาศีล นิสัยเกะกะเกเรที่มีอยู่ในตัวจะหายไป
นิสัยดุร้าย เช่น ชอบฆ่าสัตว์ ชอบเบียดเบียนรังแกผู้อื่น นิสัย
คดโกง ขี้ขโมย เจ้าชู้ โกหกหลอกลวง ขี้เหล้าเมายา ก็จะหมดไป
นอกจากนี้ศีลยังเป็นเหตุให้ได้รูปสมบัติ คือ มีร่างกายที่แข็งแรง
ไม่มีเจ็บป่วยไข้ มีอายุยืนยาว ทำให้มีโอกาสสร้างบารมีได้นานๆ
ศีลจึงเป็นเหมือนเกราะคุ้มกันภัย ทำให้ใจผ่องแผ้วมีสมาธิตั้งมั่น
สุเมธดาบสได้ตรวจตราดูต่อไปอีกว่า เมื่อมีเสบียงใน
การเดินทางไกล และได้อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว ทำไมจึงยังไปไม่
ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทําไมกิเลสอาสวะยังเกาะแน่นฝังติดอยู่ในจิตใจ
เหตุเพราะมนุษย์ยังหลงติดอยู่ในเหยื่อล่อของพญามาร คือ
เบญจกามคุณ ๕ ในรูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ต่างๆ
มัวส่งจิตออกไปนอกตัว ปล่อยใจไปตามกระแสโลก