ข้อความต้นฉบับในหน้า
คัมภีร์ปฏิบัติธรรมของโยคาจารย์กล่าวถึงการเห็นภาพหลากหลายมากมาย ภาพที่เห็นเหล่านั้นสอดคล้องกับภาพประสบการณ์จากการปฏิบัติธรรมวิชชาธรรมกายเป็นส่วนที่น่าสนใจคือการเห็นสิ่งที่ “เป็นแก้ว” หรือ “สำเร็จด้วยแก้ว”59 และส่วนที่คัมภีร์กล่าวถึงการเห็นพระพุทธเจ้าใน “มณฑลแห่งพระอาทิตย์”60 ก็คล้ายกับการมองเห็นองค์พระภายในดวงกลมที่สว่าง หรือดวงธรรมมันเอง ในส่วนที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ว่าพระพุทธเจ้าผู่งูเรื่องด้วยลักษณะและอนุพุชณะที่เห็นในมนต์แหแห่งพระอาทิตย์นั้น ก็อดคล้องกันกับพระธรรมกายที่กล่าวถึงในวิชชาธรรมกาย61
ในคัมภีร์ปฏิบัติธรรมของโยคาจารย์กล่าวประสบการณ์ภายในออกมาเป็นภาพพร้อมกับการตีความ โดยถือว่าภาพที่เห็นในสมาธินั้นจัดเป็น “รูปนิพนิต” ของคุณธรรม62 หรือเป็นบุคคลิฐานของคุณธรรมแต่ละประการ63 ส่วนในวิชชาธรรมกายเน้น “ความหยุดนิ่ง” เป็นหลักโดยสอนให้ “เห็นสักแต่ว่าเห็น” เพื่อไม่ให้โยงติดหรือกล้าใส่สิ่งที่มองเห็นในเบื้องต้นนั้น ไม่ทำให้ใจกระเพื่อมและสามารถหยุดนิ่งต่อไปได้อย่างต่อเนื่องลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น จนกว่า จะเข้าถึงจุดที่สามารถเป็นที่พึ่งให้ตนเองได้อย่างแท้จริง เมื่อถึงตรงนั้นแล้ว ก็ยังคงต้องอาศัยหลักการเดิมคือ “หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย ในกลางของสิ่งที่เห็น” เพื่อให้เข้าสู่ธรรมะที่ละเอียดยิ่งไปตามลำดับ ดังที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ปานวัดบางนาน กล่าวว่า “หยุดเป็นตัวสำเร็จ ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงนิพพาน”
ผู้ปฏิบัติ64 ในคัมภีร์ปฏิบัติธรรมของโยคาจารย์จะได้ชื่อว่าตรัสรูธรรม65 ในลำดับสุดท้ายที่เรียกว่า “การอธิษฐาน” ซึ่งในเนื้อความตอนที่ว่าด้วยพุทธลักษ์นี้ คัมภีร์ใช้คำว่า “การหยุดนิ่งที่เป็นแก้ว”66 ซึ่งเข้ากันได้กับ