ข้อความต้นฉบับในหน้า
หลักฐานธรรมภายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 ฉบับรวมงานวิจัยโดยอา
วิชา ธรรมภายใน อาจกล่าวได้ว่ามีเนื้อหาในคัมภีร์ธรรมของโยคาจารนี้ มีความสอดคล้องกันกับวิชาชธรรมภายในลักษณะการเข้าถึง “รัตนะ” หรือ “แก้วภายใน” แต่การจำแนกประสบการณ์ภายในนั้นวิชาชธรรมภายในให้รายละเอียดยิ่งกว่าสิ่งที่เห็นว่า “เป็นแก้ว” จึงอาจจัดอยู่ในระดับ “กุศลมนต์” หรืออาจเป็น “ธรรมเท่าที่เข้าถึง” ก็ได้ อย่างไรก็ดีตามผู้ปฏิบัติในทุกระดับ ยังคงได้รับคำแนะนำให้มีความพอใจในสิ่งที่เข้าถึง เพื่อประคองใจให้หยุดนิ่งอย่างลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไป
ดร.ชณิดา ได้ให้ความรู้อีกประเด็นหนึ่งเรื่องการ “อภิษะ” ซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้เรียกจุด “เข้าถึงธรรม” ของผู้ปฏิบัติLEncoderในสายนั้น ที่เปรียบเทียบกับมูตราอภิษะ เป็นพิธีขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ด้วยการรดน้ำที่พระเศียร ซึ่งคัมภีร์ได้บรรยายไว้ว่าการ “รดน้ำที่สีสะ” ทำให้น้ำนันซิมซาบเข้าไปอาบอวาทำให้รูป(ภายใน) เต็มอิ่มและบริบูรณ์ขึ้น ทั้งยังกล่าวถึง “กระแส่น้ำที่เป็นแก้ว” ไว้ด้วย นับเป็นการเปรียบเทียบเพื่ออธิบายประสบการณ์ที่เข้าถึงให้เห็นภาพได้ชัดเจน เพราะการเข้าถึงประสบการณ์ภายใน ทำให้ผู้ปฏิบัติมีความรู้สึกเต็มอิ่มท่านองเดียวกันกับการได้รับ “มูตราอภิษะ” นั่นเอง ต่างกันแต่ว่าเป็นความเต็มอิ่มที่ละเอียดอ่อนกว่าและสะดอดบริสุทธิ์ ไม่มีมล
องค์ขั้นตอนสุดท้ายของการปฏิบัติในแต่ละบาทจะอธิบายไว้แตกต่างกัน แต่จะมีส่วนร่วมเดียวกัน คือการที่ “ความรู้เห็น” กลับเข้าสู่ภายในของผู้ปฏิบัตินเอง เช่น
- ในบทว่าด้วยอานาปนาสติต ลงท้ายด้วยข้อความว่า “ลำดับนั้นสิ่งที่จะพึงรู้ทั้งปวงได้กลับเข้าไปภายในของพระโคดาจาร”