การศึกษาและการปฏิบัติในคัมภีร์มุ่งฐาน หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 ฉบับรวมงานวิจัยโดยย่อ หน้า 338
หน้าที่ 338 / 374

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในคัมภีร์มุ่งฐานเป็นการบันทึกผลจากการปฏิบัติธรรมของบุคคลที่บรรลุระดับสมาธิขั้นต่างๆ โดยมีการสืบทอดและเผยแผ่ไปจากรุ่นสู่รุ่น คัมภีร์นี้เน้นการบรรยายถึงประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ ทั้งการเกิดปิติเห็นแสงสว่างและประสบการณ์ทางธรรมอื่นๆ ผลจากการปฏิบัติที่อธิบายในคัมภีร์มีความละเอียดแต่ละระดับ จุดที่แตกต่างคือการบรรยายที่เข้าไปสู่รายละเอียดการเข้าถึงธรรมชั้นสูงโดยพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี และผลการปฏิบัติตามหลักสูตรของคัมภีร์นี้ไม่ตรงกับกัมมัฏฐานอื่น อาจเกิดจากภาวธรรมที่แตกต่างกันของผู้ปฏิบัติแต่ละท่านหรือแต่ละสำนัก เนื้อหานี้จะมีการศึกษาและค้นคว้าต่อไปโดยต้องอาศัยหลักฐานทางวิชาการที่เพิ่มเติม

หัวข้อประเด็น

-การปฏิบัติสมาธิ
-คัมภีร์มุ่งฐาน
-ประสบการณ์ภายใน
-การสืบทอดทางธรรม
-ความแตกต่างของผลปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เนื้อหาในส่วนนี้คล้ายกับคัมภีร์จะพระธรรมเป็นอย่างมากซึ่งจะได้มีการค้นคว้าในลำดับต่อไป สำหรับการปฏิบัติสมาธิวาณที่ปรากฎในคัมภีร์ใดนฐานะพระมหามุณฐานเขมรมอิ้นไว้เพียงเท่านี้ก่อน เนื่องจากเนื้อหาในชั้นถัดไปยังต้องอาศัยหลักฐานทางวิชาการประกอบการศึกษาเพิ่มเติมอีกพอสมควร กล่าวโดยสรุปสำหรับคัมภีร์มุ่งฐาน คัมภีร์นี้เป็นบันทึกผลจากการปฏิบัติธรรมของบุคคลในเวลาที่ท่านได้รับบรรลุระดับสมาธิขั้นต่างๆ ปรากฏรายละเอียดเป็นขั้นตอนตามหลักสูตรที่เขียนไว้ ซึ่งได้สืบทอดและเผยแผ่ไปจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง ต่อมาคัมภีร์นี้มีการจารคัดลอกและอาจจะมีการอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมในเชิงสัญลักษณ์ และอธิบายตามสภาวธรรมต่างๆ ด้วยแนวทางการเรียนการสอนของคนในสมัยหลัง ผลที่เกิดจากการปฏิบัติที่ปรากฏในคัมภีร์นี้ กล่าวไว้ว่าผู้ปฏิบัติวามมีประสบการณ์ภายในคือ เกิดปิติ เห็นแสงสว่าง เห็นดวงแก้ว ดงสีเสนพระพุทธเจ้า เห็นพระอริยสงฆ์ และการเข้าสมานไปสรรค์ ไปพรหมโลก เป็นต้น สิ่งที่แตกต่างระหว่างผลแห่งการปฏิบัติในคัมภีร์ฉบับนี้กับวิชา ธรรมกายก็คือ เนื้อหาในคัมภีร์นี้บรรยายละเอียดประสบการณ์ภายในเพียงเบื้องต้น มีแสดงรายละเอียดการเข้าถึงธรรมในชั้นสูงขึ้นอย่างที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีได้แสดงไว้ และอีกประการหนึ่งคือผลจากการปฏิบัติธรรมตามหลักสูตรที่ปรากฏในคัมภีร์นี้ กับผลจากการปฏิบัติที่บันทึกในคัมภีร์พระกัมมัฏฐานบอื่นๆ แสดงไว้ไม่ตรงกัน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าภาวธรรมของผู้เจริญภาวนาแต่ละท่านหรือแต่ละสำนักในสมัยนั้นได้เข้าถึงประสบการณ์ที่มีความละเอียดย่อมไม่ได้เท่ากัน ถึงแม้จะเรียนและปฏิบัติตามหลักสูตรเดียวกัน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More