ธรรมกายและพุทธคุณในล้านนา หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 ฉบับรวมงานวิจัยโดยย่อ หน้า 350
หน้าที่ 350 / 374

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับธรรมกายในล้านนาที่เป็นที่รวมของพุทธกายและพุทธคุณ นำเสนอโดยการวิเคราะห์คัมภีร์โบราณที่มีความเชื่อมโยงกับความรู้แจ้งและการปฏิบัติธรรม ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของธรรมกายในฐานะเป็นกายแห่งการตรัสรู้และความสำเร็จทั้งทางโลกและธรรม รวมถึงคำสอนในการปฏิบัติที่มีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ ทั้งทางเอเชียอาคเนย์และบาลี วัดเสด พิษณุโลก เป็นสถานที่สำคัญในการศึกษา

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของธรรมกาย
-คุณสมบัติแห่งพุทธคุณ
-คัมภีร์โบราณและการปฏิบัติธรรม
-ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในล้านนา
-ความรู้แจ้งในพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประพันธ์ขึ้นในล้านนาซึ่งกล่าวถึงธรรมกายในฐานะเป็นที่รวมแห่งพุทธกายมีพระสักขีพยานดุจญาณเป็นต้นนั้น อาจจะประพันธ์ขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งหากคัมภีร์ดังกล่าวประพันธ์ในช่วงเวลานั้นจริง แสดงว่าท่านผู้ประพันธ์น่าจะรู้คุณสมบัติของธรรมกายมาก่อนหน้านั้นระยะหนึ่งแล้ว ส่วนคาตาพระธรรมกายมีหลักทางโบราณคดียืนยันวันเวลาได้ชัดเจนในปลายพุทธศตวรรษที่ 21 อันเป็นเวลาที่ระบุไว้อยู่บนศิลาจารึกพระธรรมกายที่พบที่พระเจดีย์วัดเสด พิษณุโลก ในคาถาพระธรรมกาย ธรรมกายที่กล่าวไว้เป็นพระธรรมกายของพระพุทธเจ้า มีลักษณะของการเป็นที่รวมแห่งพระพุทธคุณและพุทธคุณมีประการต่างๆ ญาณของพระธรรมกายมีคุณสมบัติของความรู้แจ้ง จึงบ่งบอกนัยของพระธรรมกายว่าเป็นกายแห่งความรู้แจ้งหรือภายในแห่งการตรัสรู้ธรรมไปด้วย ในเวลาเดียวกันพระพุทธองค์ได้ชื่อว่าเป็นธรรมกาย(รมมกายมติ พุทธ) ธรรมกายอันเป็นที่รวมแห่งพระพุทธคุณจึงเป็นพุทธลักษณะประการหนึ่ง ที่ผู้มีความเพียรปฏิบัติธรรมควรน้อมระลึกถึงเนื่องๆในการเจริญพุทธมนต์ นอกจากนี้ยังได้พบว่าความธรรมกายสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะการอาศัยอนุภาพของพระพุทธคุณให้ได้มาซึ่งความสำเร็จทั้งทางโลกและในทางธรรม ในด้านหลักธรรมทั่วไปที่ปรากฏในคัมภีร์โบราณของเอเชียอาคเนย์ 35 คัมภีร์ ซึ่งเป็นคาถาบาลี 3 คัมภีร์ ไม่มีข้อสงสัยในความเป็นเอกราวของคัมภีร์เหล่านี้ทั้งนี้เพราะความเป็นเอกราวาของภูมิภาคแหล่งกำเนิดของคัมภีร์เอง และด้วยการศึกษาเปรียบเทียบเนื้อหาในคัมภีร์ดังกล่าวกับพระไตรปิฎกบาลี นอกจากนี้ยังพบว่าคัมภีร์ใช้ศึกษามีคำสอนในการปฏิบัติที่สอดคล้อง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More