การปฏิรูปมนุษย์ตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 4
หน้าที่ 4 / 397

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อธิบายถึงความจำเป็นในการปฏิรูปมนุษย์และวิธีการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสอนเพื่อการปฏิรูปบุคคลจากที่มีความผิดพลาดไปสู่ความถูกต้อง เช่น การเปลี่ยนแปลงใจของมหาโจรให้เป็นพระอรหันต์ การปฏิรูปหญิงเสียสติ และกษัตริย์นักรบกระหายเลือดถึงการเป็นธรรมิกราช ซึ่งปฏิรูปเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความรู้ที่ลึกซึ้งและวิธีการที่สำเร็จในการเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คน ตามที่พระพุทธศาสนาได้ถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีพระธรรมคำสั่งสอนที่เป็นมรดกตกทอดให้แก่สังคมไทย

หัวข้อประเด็น

-ความจำเป็นในการปฏิรูปมนุษย์
-วิธีการปฏิรูปตามพระพุทธเจ้า
-กรณีศึกษาการปฏิรูปบุคคลต่างๆ
-ความสำเร็จในการปฏิรูปของพระพุทธเจ้า
-ผลกระทบจากการสืบทอดคำสอนในปัจจุบัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สับสนเสมอมา และนับวันก็ยิ่งจะทวีความวุ่นวายสับสนขึ้นเรื่อยๆ ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมเหล่านี้ของคนเรานี่แหละ เป็นสิ่งที่จำเป็นต้อง ปฏิรูปให้ได้ แต่ก็ยังไม่เคยปรากฏว่ามีศาสดาองค์ใดในโลก ให้สูตรสำเร็จ เกี่ยวกับการปฏิรูปมนุษย์ไว้เลย จะมีก็แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราเท่านั้น ที่ทรงแสดงวิธี ปฏิรูปมนุษย์ไว้อย่างชัดเจน ทั้งยังมีหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกว่า พระพุทธองค์ได้เคยทรงปฏิรูปปุถุชน คนมีกิเลสหนาปัญญาหยาบมามาก ต่อมาก เป็นต้นว่า ทรงเคยปฏิรูปมหาโจรให้เป็นพระอรหันต์ ปฏิรูป สามเณรให้เป็นพระอรหันต์ ปฏิรูปหญิงเสียสติให้เป็นพระอรหันต์เถรี ปฏิรูปโสเภณีให้เป็นพระอรหันต์เถรี ปฏิรูปกษัตริย์ผู้กระหายเลือดให้เป็น พระโสดาบัน ปฏิรูปบุตรชายโสเภณีให้เป็นพระโสดาบัน แม้หลังพุทธ ปรินิพพานแล้ว พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ ก็ยังสามารถปฏิรูป กษัตริย์ผู้เคยเป็นนักรบกระหายเลือดอย่างพระเจ้าอโศกมหาราช ให้เป็น ธรรมิกราชได้ ผลงานปฏิรูปบุคคลดังกล่าวนี้ ย่อมแสดงว่า พระสัมมาสัมพุทธ เจ้าทรงรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมทั้งปวง คือ ตรัสรู้เองจริง ทรงมีความรู้จริง อีกทั้งมีสูตรสำเร็จในการปฏิรูป จึงประสบความสำเร็จในการปฏิรูปบุคคล ดังกล่าวแล้ว ผิดกับนักปฏิรูปอื่นๆ ที่ต้องประสบความล้มเหลว ก็เพราะ ยังมีความรู้ไม่สมบูรณ์นั่นเอง นับเป็นโชคดีที่พระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา รวมทั้ง สูตรสําเร็จในการปฏิรูปบุคคลหรือปฏิรูปมนุษย์ ได้เป็นมรดกตกทอดมา ถึงบรรพบุรุษไทยแต่บรรพกาล และสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More