คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 144
หน้าที่ 144 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้สำรวจอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อชีวิตเรา โดยเน้นที่บุคคลที่เป็นมิตรทั้งดีและเลว ซึ่งมีผลกระทบต่อเส้นทางชีวิต บทเขียนเน้นความสำคัญในการเลือกมิตรแท้เพื่อพัฒนาตนเอง และยกตัวอย่างเพื่อสนับสนุนแนวคิดนี้จากพระพุทธศาสนา ให้เห็นถึงผลลัพธ์ของการเลือกคบคนและการพัฒนาจิตใจให้มีคุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรู้ทันมิตรเทียมที่อาจนำไปสู่การทำผิด ซึ่งผู้เขียนยังมีแนวทางในการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงสู่ความดีอีกด้วย.

หัวข้อประเด็น

-อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
-การเลือกมิตรแท้และมิตรเทียม
-ผลกระทบจากการคบเพื่อน
-แนวทางการปฏิรูปตนเอง
-ปรัชญาพุทธศาสนาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๑๐ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ สรุป ความคิดและข้อมูลต่างๆ ที่นำเสนอในบทนี้ มีประเด็นสำคัญ พอสรุปได้ดังนี้คือ ๑. สิ่งแวดล้อมที่เป็นบุคคลมีอิทธิพลเหนือชีวิตเรา ได้กล่าว มาแล้วว่า สิ่งแวดล้อมของคนเรานั้นมีอยู่ ๒ ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมที่ เป็นธรรมชาติ กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นคน แม้สิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ จะมีผลดีผลเสียต่อการดำรงชีวิตของเราอยู่บ้าง แต่ก็อาจไม่มากเท่าสิ่งแวดล้อม ที่เป็นคน เพราะสิ่งแวดล้อมที่เป็นคนมีอิทธิพลชักนำให้ชีวิตเรา ตกไปสู่ ความหายนะ หรือส่งเสริมให้เราประสบความรุ่งเรืองได้เกินคาด การคบมิตรเทียมหรือคนเลวแม้เพียงคนเดียว ก็อาจทำให้เรา ตกนรกได้ ดังกรณี พระเจ้าอชาตศัตรูที่หลงคารมนักบวชทุศีลอย่างพระเทวทัต ถึงกับปลงพระชนม์พระราชบิดา ด้วยความโง่เขลาเบาปัญญา และทั้งๆ ที่ พยายามชดเชยบาปกรรมนั้นด้วยการสร้างกุศลกรรมมากมาย ในกาลต่อมา ก็ไม่สามารถปิดนรกได้ เพราะเหตุที่การคบคนเลวมีโทษมหันต์ถึงปานนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงชี้ให้เห็นว่า การคบคนชั่วเป็นมิตรคือสุดยอดแห่ง อบายมุข ส่วนพระองคุลิมาลแม้เคยเป็นฆาตกรฆ่าคนมาถึง ๙๙๙ คนแล้ว ครั้นมีโอกาสพบและได้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นกัลยาณมิตรทรงชี้ทางสว่างให้ ก็สามารถบรรลุอรหัตผล เป็นพระอรหันต์ บรรลุความหลุดพ้นได้ในชาตินี้เอง ๒. หลักในการแยกแยะระหว่างมิตรเทียม - มิตรแท้ การที่ จะสามารถรู้ได้ว่า ใครเป็นมิตรเทียมหรือมิตรแท้นั้น สังเกตได้จากพฤติกรรม ๑๖ ประการ ที่เขาแสดงออก หรือปฏิบัติต่อเพื่อนฝูง มิตรเทียมมีพฤติกรรม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More