การพัวพันเกี่ยวข้องกับมิจฉาอาชีวะ และอบายมุข 5 คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 113
หน้าที่ 113 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้เน้นการมีส่วนร่วมกับคนชั่วในกิจกรรมต่างๆ และผลกระทบที่ตามมา เช่น การกระทำที่ผิดกฎหมายและผิดศีลธรรม การคบหากับคนชั่วสามารถนำไปสู่การทำบาปกรรม และสังคมสามารถรังเกียจผู้ที่กระทำผิด มีการอธิบายเกี่ยวกับอบายมุข 5 และการส่งเสริมกรรมกิเลส ซึ่งสามารถทำให้เกิดปัญหาหนี้สินและความเดือดร้อนตามมาได้ ดังนั้นการมีความรับผิดชอบและเลือกคบคนดีจึงสำคัญเพื่อป้องกันปัญหาในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-มิจฉาอาชีวะ
-อบายมุข 5
-ความรับผิดชอบ
-กระทำผิดศีลธรรม
-ปัญหาหนี้สิน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๔ การพัวพันเกี่ยวข้องอยู่กับมิจฉาอาชีวะ และอบายมุข 5 ในฐานะที่เป็น อาชีพโดยตรง เป็นอาชีพเสริม หรือเป็นการพักผ่อนหย่อนใจเป็นประจำ เช่น เป็นนักเลงการพนัน นักเลงเหล้า นักค้ายาเสพติด นักเลงผู้หญิง นักเที่ยว กลางคืน นักต้ม นักเลงโต ฯลฯ เพราะฉะนั้น การคบคนชั่วเป็นมิตร จึงหมายถึง การมี ความสนิทสนมคุ้นเคยกับคนชั่ว ถึงขั้นร่วมกัน ร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรม ต่างๆ กับคนชั่ว ใครก็ตามที่ร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมกับคนชั่วได้ แสดงว่า มีความคิดเห็นสอดคล้องกับคนชั่ว เห็นดีเห็นงามกับความคิด และการ กระทำของคนชั่ว ซึมซับเอามิจฉาทิฏฐิจากคนชั่วเข้ามาในตนแล้ว นั่นคือ เขาพร้อมที่จะทำบาปกรรม ๑๔ ประการ เขาขาดความรับผิดชอบทั้ง ๔ ประการ อันเป็นคุณสมบัติของคนดีที่โลกต้องการ ได้กล่าวแล้วว่า พฤติกรรมของคนชั่วโดยทั่วไป ก็คือการ 66 พัวพันเกี่ยวข้องกับมิจฉาอาชีวะ และอบายมุข 5 สำหรับมิจฉาอาชีวะนั้น ผิดทั้งกฎหมายและศีลธรรม ผู้ที่ทำผิดกฎหมาย ถ้าถูกจับได้ย่อมต้องติด คุกติดตะราง ผู้ที่ทำผิดกฎหมายและผิดศีล เมื่อมีชีวิตอยู่ ย่อมเป็นที่ รังเกียจเดียดฉันท์ของผู้คนในสังคม เมื่อละโลกไปแล้ว ย่อมมีทุคติเป็นที่ไป ส่วนอบายมุข 5 แม้บางอย่างจะไม่ผิดกฎหมาย แต่ทุกอย่าง สามารถชักนำไปสู่การกระทำที่ผิดกฎหมาย และผิดศีลได้ทั้งสิ้น (การทำ กรรมกิเลส ก็คือการทําผิดศีลนั่นเอง) เช่น การดื่มสุรา ผู้ที่ดื่มสุรายาเมา จนควบคุมสติไม่ได้ ย่อมสามารถทำกรรมกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือครบทั้ง ๔ ประการได้ ผลของการทำกรรมกิเลส ย่อมก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ ผู้ประพฤติอย่างแน่นอน ถ้าไม่ถึงขั้นติดคุกติดตะราง ก็ทำให้ต้องเสีย ทรัพย์สินเงินทองมากมาย เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนนั้น ซึ่งอาจจะกลาย เป็นปัญหาหนี้สินต่อไปอีก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More