คุณสมบัติของคนดี คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 269
หน้าที่ 269 / 397

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงคุณสมบัติของคนดีที่จำเป็นต้องมีเพื่อเป็นจิตใจที่บริสุทธิ์และก้าวไกลจากความชั่วร้าย โดยเน้นถึงกรรมกิเลส ๔ ประการที่ควรหลีกเลี่ยง และพฤติกรรมเสริมที่ส่งผลต่อสังคมที่สงบสุข การเข้าใจและปฏิบัติตนตามหลักการเหล่านี้จะทำให้บุคคลนั้นมีจิตใจที่ดีและเมตตากรุณา.

หัวข้อประเด็น

-คุณสมบัติของคนดี
-กรรมกิเลส
-ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
-จิตใจเมตตากรุณา
-การกระทำที่ควรหลีกเลี่ยง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๘ คุณสมบัติ ๔ ประการของคนดีมีอะไรบ้าง? เพื่อที่จะไม่ต้องพลิกย้อนกลับไปดูบทที่ ๒ อีก จึงขอกล่าวถึง คุณสมบัติ ๔ ประการของคนดี ไว้ ณ ที่นี้อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้ ๑. คนดีต้องมีความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ของตนเอง ด้วยการไม่ทำกรรมกิเลส ๔ ประการ คือ การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การลักขโมย การประพฤติผิดทางเพศ และการพูดเท็จ กรรมกิเลสทั้ง ๔ ประการนี้ ถือว่าเป็นกรรม คือการกระทำที่ชั่วช้าสามานย์ ที่ผู้ชื่อว่ามนุษย์ ต้องไม่กระทำ ถ้าผู้ใดกระทำก็ถือว่าผู้นั้นปฏิบัติตนใกล้เคียง กับดิรัจฉาน หมดศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ในบรรดากรรมกิเลสทั้ง ๔ ประการ ดังกล่าว ยังมี การกระทําที่มีระดับหรือนํ้าหนักแห่งความชั่วช้าสามานย์รองลงมาอีก ซึ่งเป็น สิ่งที่คนดีเขาไม่กระทำกัน เพราะทำแล้วจะก่อปัญหาเดือดร้อน ขาดความ สงบสุขในสังคม เช่น การทะเลาะวิวาทหรือทุบตีกัน การฉ้อโกงกัน การ ละเมิดสิทธิกัน การประพฤติทุจริตด้วยวิธีต่างๆ ตลอดจนการพูดจา กระทบกระทั่งเสียดสีกัน เป็นต้น เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะได้ชื่อว่า มีคุณสมบัติของคนดีที่โลกต้องการ ๑ ประการที่ ครบสมบูรณ์ จะต้องไม่มีพฤติกรรมในทํานองที่กล่าวเพิ่ม เติมนี้อีกด้วย เพราะพฤติกรรมเหล่านี้ คือเครื่องแสดงถึงจิตใจที่ยังมืดมัว ด้วยอำนาจกิเลส เป็นจิตใจที่ไร้ความบริสุทธิ์สะอาด เป็นจิตใจที่ยังห่าง ไกลจากความเป็นอริยะ ย่อมพร้อมที่จะก่อบาปกรรมได้เสมอ ใครก็ตามที่สามารถละกรรมกิเลส ๔ ประการ รวมทั้งกรรมกิเลส ในระดับรองลงมา แสดงว่าเป็นผู้มีพื้นฐานจิตใจดีมาก มีจิตใจเมตตากรุณา สูง อีกทั้งไม่มีความคิดที่จะเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนเลย ดังนั้นการ กระทำต่างๆ ของเขาจึงยึดเอาความสุจริตและความจริงใจเป็นที่ตั้ง รังเกียจ ๒๕๕
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More