คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 274
หน้าที่ 274 / 397

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างสังคมที่ดีโดยการพัฒนาคุณธรรมและพฤติกรรมของคนในสังคม ที่สามารถพัฒนาได้จากการปฏิบัติตนต่อสิ่งแวดล้อมและบุคคลรอบตัว โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เทศนาถึงคุณสมบัติของกัลยาณมิตร ที่ควรจะมีและสามารถประพฤติปฏิบัติตนให้เข้าใกล้เคียงได้ ซึ่งแบ่งออกเป็นคุณสมบัติ ๔ ประการ และอริยวินัยเพิ่มเติมที่เกิดจากการมีมิตรสหายที่ดี การพัฒนานี้เป็นสิ่งที่นำไปสู่การสร้างความสุขและความสงบในชีวิตและสังคมได้อย่างยั่งยืน.

หัวข้อประเด็น

-การพัฒนาคุณธรรม
-คุณสมบัติของคนดี
-กัลยาณมิตร
-อริยวินัย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ ปัญญาตรองเห็นว่า ตนเองจะสามารถครองชีวิตอยู่อย่างสันติสุขได้ มี โอกาสสร้างบุญสร้างบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ก็เพราะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีพร้อม จึงตั้งใจประพฤติปฏิบัติตนต่อสิ่งแวดล้อมทั้ง ๒ ประการ เป็นอย่างดี คุณธรรมเหล่านี้ย่อมพัฒนาขึ้นเป็นลักษณะนิสัย และพฤติกรรมของมิตรแท้ ๑๖ ประการได้โดยง่าย จากธรรมบรรยายทั้งหมดนี้ ย่อมเห็นได้ชัดเจนแล้วว่า สังคมดีที่ โลกต้องการ คือสังคมที่ประกอบด้วยมวลสมาชิก ซึ่งบริบูรณ์พร้อม ด้วยคุณสมบัติของคนดีที่โลกต้องการ ๔ ประการ ดังกล่าวแล้ว และ คุณสมบัติดังกล่าวนี้ สามารถพัฒนาเป็นลักษณะนิสัยและพฤติกรรมของ มิตรแท้ ๑๖ ประการได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติของคนดีที่โลกต้องการทั้ง ๔ ประการนี้ ถือว่าเป็นเพียงอริยวินัยพื้นฐาน เฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น ครั้นเมื่ออยู่ในสังคม ๒๖๐ ยังจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบ ซึ่งถือว่าเป็นอริยวินัยเพิ่มขึ้นอีก เช่น คุณสมบัติของกัลยาณมิตร คุณสมบัติของกัลยาณมิตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาถึงอุปนิสัยของพระภิกษุผู้ทรงคุณ ธรรม ที่ควรคบเป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้จะถูกท่านขับไล่ไว้ใน ทุติยสขาสูตร * ซึ่งสามารถสรุปเป็นคุณสมบัติของกัลยาณมิตร ได้ ๗ ประการ ดังนี้ ๑ G). ทำตัวน่ารัก น่าคบหา ๒. ทำตัวน่าเคารพ หนักแน่น เป็นที่พึ่งได้ ให้เกิดความอบอุ่นไว้ วางใจ เมื่อใกล้ชิด ๓. ทำตัวน่ายกย่อง ให้เกิดความภูมิใจ เมื่อกล่าวถึง น่ายึดถือ เป็นแบบอย่าง อัง, สัตตกะ, มก. ๓๗/๓๔๙๓
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More