การรักษาศีลและอริยสาวก คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 59
หน้าที่ 59 / 397

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๒ เน้นความสำคัญของการรักษาศีลซึ่งเป็นการรักษาความประพฤติให้บริสุทธิ์ตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า การรักษาวินัยคือการปฏิบัติตามกฎด้วยความเต็มใจ ภายใต้การควบคุมกายและวาจา แม้จะมีความคิดต่อต้านก็ตาม การรักษาศีลเริ่มจากการรักษาวินัยและพัฒนาจนกลายเป็นนิสัย ผู้ที่ปฏิบัติตามวินัยและรักษาศีลอย่างต่อเนื่องจะลดกิเลสลงและมีความสุขอย่างยั่งยืน และเป้าหมายคือการเป็นอริยสาวกซึ่งมีความสุขและเกิดขึ้นใหม่ในโลก.

หัวข้อประเด็น

-การรักษาศีล
-การรักษาวินัย
-ความหมายของอริยสาวก
-การลดกิเลส
-การพัฒนาจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๒ การรักษาศีล เป็นการรักษาความประพฤติทางกาย วาจา ให้ บริสุทธิ์งดงาม ไม่ให้เสียหายหรือเกิดโทษด้วยความเต็มใจ ใจไม่คิดต่อต้าน หรือคิดล่วงละเมิดวินัยต่างๆ ด้วย เป็นผลให้ผู้รักษาศีลเกิดความอิ่มเอิบ ใจอยู่ตลอดเวลา ความแตกต่างระหว่างการรักษาวินัยกับการรักษาศีล กฎหรือข้อปฏิบัติเพื่อควบคุมกายและวาจาที่บัญญัติขึ้นไว้ ซึ่ง เรียกว่าวินัย บุคคลที่ไม่เห็นด้วยหรือมีใจคิดต่อต้านวินัยนั้นๆ แต่ก็จำใจ ปฏิบัติตามโดยไม่แสดงพฤติกรรมเสียหายทางกาย วาจา ละเมิดออกมาให้ เป็นที่ปรากฏ เช่นนี้เรียกว่า “การรักษาวินัย” อาจจะมีบาปจากการคิดไม่ ชอบนั้นเกิดขึ้นบ้าง แต่ไม่มากนัก ครั้นเมื่อรักษาวินัยจนคุ้นเคย ไม่คิดละเมิดหรือต่อต้าน ด้วย เกิดความเข้าใจถูก เห็นว่าวินัยนั้นๆ เหมาะสม ถูกต้อง สามารถคุ้มครอง ได้ทั้งกาย และวาจา ให้บริสุทธิ์ได้จริง คือไม่มีโทษ ไม่มีบาป จึงปฏิบัติ ตามวินัยนั้นๆ ด้วยความเต็มใจ ซึ่งในที่สุดจะกลายเป็นปกตินิสัย เช่นนี้เรียก ว่า “การรักษาศีล” ดังนั้น การรักษาศีลจึงเป็นการพัฒนายกระดับขึ้นมาจาก การรักษาวินัยนั่นเอง และแน่นอนย่อมทำให้ใจบริสุทธิ์ขึ้นโดยอัตโนมัติ ๓. อริยสาวก อริยสาวก หรือ อริยบุคคล หมายถึง ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ตามวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ด้วยความเต็มใจ จนเป็น ปกตินิสัย ทำให้กิเลสลดน้อยถอยลงเจือจางลงไปมาก จึงอยู่เป็นสุข บาง ท่านกิเลสก็เหลือน้อยเต็มที่ หรือหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง จะไม่กลับมาเกิดอีก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More