ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ ๗
ทางกายและวาจาของนายจ้างประเภทนี้ ย่อมก่อให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจ
เกลียดชัง โกรธแค้น หรือถึงขั้นอาฆาตพยาบาทให้แก่ลูกจ้าง
นายจ้างที่มีลักษณะมิตรเทียม ย่อมเป็นผู้โหมกระพือมิจฉาทิฏฐิ
ของเหล่าลูกจ้างให้รุนแรงยิ่งขึ้น และรอเวลาระเบิดออกมาเป็นพฤติกรรม
ที่จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ทั้ง ๒ ฝ่าย อาจกล่าวได้ว่านายจ้างที่
เป็นมิจฉาทิฏฐินั้น นอกจากตนเองจะก่อบาปโดยตรงแล้ว การกระทำของ
เขายังบีบคั้นลูกจ้างให้คิดก่อกรรมทำเข็ญเพื่อตอบโต้อีกด้วย เป็นการผูก
เวรกันไม่รู้จักจบสิ้น
๒) ปล่อยข่าวทําลายนายจ้าง ลูกจ้างที่เกลียดชังนายจ้างมิจฉา
ทิฏฐิอาจมีวิธีแก้แค้นนายจ้างโดยวิธีแนบเนียน เช่นซุบซิบนินทานายจ้างให้
เสียหาย ปล่อยข่าวเพื่อให้กรรมการของบริษัทหรือองค์กรแตกกัน ปล่อย
ข่าวเพื่อทำลายคุณภาพของสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท บางรายอาจ
นําความลับของบริษัทไปเปิดเผยกับคู่แข่งของนายจ้าง เป็นต้น
๓) ทําลายผลประโยชน์ของนายจ้าง ลูกจ้างที่ขาดหิริโอตตัปปะ
ย่อมมีวิธีตอบโต้เจ้านายที่เป็นมิจฉาทิฏฐิได้อย่างกว้างขวาง วิธีการตอบโต้
จะมีความรุนแรงหรือเลวร้ายเพียงใดย่อมขึ้นกับแรงแค้นของพวกเขา
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างพฤติกรรมของลูกจ้างใช้ทําลายผล
ประโยชน์ของนายจ้างที่ปรากฏขึ้นบ่อยๆ
- นัดหยุดงานประท้วง ซึ่งเป็นวิธีการทำลายผลประโยชน์ของ
นายจ้างอย่างหนึ่ง
- ลอบทำร้าย หรือฆาตกรรมนายจ้างที่ไล่ตนออกจากบริษัท
ลอบฆาตกรรมหัวหน้าหน่วยงานที่ปลดตนออกจากตำแหน่ง
เอาสูตรในการผลิตของบริษัทไปขายให้กับคู่แข่งของนายจ้าง
- ใช้ทรัพย์สิ่งของของบริษัทอย่างไม่ประหยัด โดยจงใจจะให้
บริษัทได้รับความเสียหาย
๒๑๙