คุณสมบัติของคนดี: พ้นอบายมุข ๖ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 85
หน้าที่ 85 / 397

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงคุณสมบัติสำคัญของคนดีที่พ้นจากอบายมุข ๖ ซึ่งมีความสำคัญต่อการรักษาทรัพย์สินและเศรษฐกิจของชาติ โดยเน้นถึงความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้งการใช้ทรัพย์อย่างมีอริยวินัยเพื่อประโยชน์สุขของสังคมและการทำงานด้วยความขยันขันแข็ง พร้อมความเข้าใจถึงสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดีในอาชีพ

หัวข้อประเด็น

-คุณสมบัติของคนดี
-อบายมุข
-ศีลธรรมทางเศรษฐกิจ
-การใช้ทรัพย์
-ความรับผิดชอบ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๒ คุณสมบัติของคนดี ลำดับที่ ๓ : พ้นอบายมุข ๖ m: มีความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ คุณสมบัติประการที่ ๓ ของคนดี คือ มีอริยวินัยควบคุมตนให้ อบายมุข แปลว่า เหตุย่อยยับแห่งโภคทรัพย์ หรือทางแห่ง ความพินาศด้านเศรษฐกิจ อบายมุขนี้ นอกจากจะทำให้บุคคลต้องสูญเสียทรัพย์ มีหนี้ สินล้นพ้นตัว หรือถึงขนาดสิ้นเนื้อประดาตัวแล้ว ยังเป็นเหตุให้เศรษฐกิจ ของชาติพินาศไปอีกด้วย ทั้งนี้เพราะฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนส่วน ใหญ่ในชาติใดก็ตาม คือสิ่งสะท้อนให้เห็นฐานะทางเศรษฐกิจของชาตินั้น ได้เป็นอย่างดี ถ้าประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะร่ำรวย ประเทศชาติก็พลอยมั่งคั่ง ๒๑ ไปด้วย ตรงกันข้าม ถ้าประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ประเทศชาติ ก็พลอยฝืดเคืองย่ำแย่ไปด้วย มีหนี้สินท่วมท้น ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน คนใจละเอียดมีอริยวินัยในการใช้ทรัพย์ คนใจละเอียดมีโยนิโสมนสิการ ตรองเห็นว่า ทรัพยากรในโลก นี้มีอยู่จำกัด ในการแสวงหาทรัพย์มาเลี้ยงชีพ เขาจะมีความมานะพยายาม ที่จะแบ่งปันทรัพย์ทั้งหลายให้แก่เพื่อนร่วมสังคม ร่วมชาติ และร่วมโลก เพื่อประโยชน์สุขของแต่ละคนโดยเท่าเทียมกัน เท่าที่เขาจะทำได้ คนใจละเอียดเมื่อประกอบอาชีพ ก็จะทําด้วยความขยันขันแข็ง ไม่เกียจคร้าน และเลือกทำแต่เฉพาะอาชีพที่สุจริต เพราะมีความเข้าใจเป็น อย่างดีว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด อะไรควร อะไรไม่ควร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More