อริยวินัยในพระพุทธศาสนา คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 333
หน้าที่ 333 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้นำเสนอวิธีการควบคุมกาย วาจา ใจผ่านอริยวินัยในสิงคาลกสูตร โดยมีเส้นทางการทำให้ผู้คนเป็นคนดีและบรรลุความเป็นอริยะ ผ่านทางการละกิเลสและการรักษาศีลที่เหมาะสมกับกลุ่มต่าง ๆ. รวมถึงการแบ่งประเภทศีลที่สอดคล้องกับระดับจิตใจของบุคคล เริ่มจากศีล 5 สำหรับประชาชนทั่วไป จนถึงศีล 311 สำหรับภิกษุณี.

หัวข้อประเด็น

-อริยวินัยในพระพุทธศาสนา
-บทบาทของศีลต่อบุคคล
-การพัฒนาคุณธรรม
-สิงคาลกสูตรและความสำคัญ
-การควบคุมกิเลสและการรักษาศีล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๙ อริยวินัย เนื่องจากข้อวินัย หรือข้อปฏิบัติเพื่อควบคุมกายวาจาใจ ใน พระสูตรนี้ มุ่งฝึกอบรมผู้คนให้เป็นคนดี มีความสุข ความเจริญ บรรลุ ความเป็นอริยะด้วยการกำจัดกิเลสให้หมดไปตามลำาดับๆ ดังนั้นในหนังสือ เล่มนี้ จึงเรียกข้อวินัยต่างๆ ในสิงคาลกสูตรว่า “อริยวินัย” ซึ่งหมายถึง วินัยที่มุ่งทำให้บรรลุความเป็นอริยะ หรือความหมดกิเลสนั่นเอง ข้อวินัยในสิงคาลกสูตร ตามหลักพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ข้อวินัยในแง่ที่เป็นสิกขา บท หรือเป็นบทฝึกอบรมบุคคลให้มีความประพฤติดีทางกายและวาจา ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า “ศีล” นั้นย่อมเป็นที่รู้และเข้าใจกันดีว่า ศีลหมวด ใดเป็นสิกขาบทสําหรับบุคคลกลุ่มใด เช่น ศีล ๕ เป็นสิกขาบทสำหรับ ปุถุชนทั่วไป ศีล ๘ เป็นสิกขาบทสำหรับอุบาสก อุบาสิกา ผู้มุ่งหวังยก ระดับจิตใจให้สูงขึ้นต่อจากศีล ๕ ศีล ๑๐ เป็นสิกขาบท สำหรับสามเณร ศีล ๒๒๗ เป็นสิกขาบทสำหรับภิกษุ และศีล ๓๑๑ เป็นสิกขาบท สำหรับภิกษุณี สําหรับในสิงคาลกสูตร วินัยสำหรับคฤหัสถ์ (คิริวินัย) มิได้ จำกัดอยู่แค่เพียงศีล ๕ เท่านั้น ทว่าประกอบด้วยสิกขาบท ซึ่งในหนังสือ เล่มนี้เรียกว่าอริยวินัยและมีอยู่ 4 หมวดด้วยกัน คือ ๑. การละกรรมกิเลส ๔ ข้อ ๒. การละบาปกรรม โดยเหตุ ๔ หรือ อคติ ๔ ข้อ ๓. การละทางเสื่อม ๖ ประการแห่งโภคะ หรือ อบายมุข 5 ๔. การละลักษณะนิสัยมิตรเทียม ๑๖ ข้อ ๕. การพัฒนาลักษณะนิสัยมิตรแท้ให้เกิดขึ้นในตน ๑๖ ข้อ ๓๑๕
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More