สัมมาทิฏฐิและความเข้าใจในโลก คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 37
หน้าที่ 37 / 397

สรุปเนื้อหา

บทแรกนี้ชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาใจสู่ความสว่าง ผ่านการเข้าใจสัมมาทิฏฐิระดับที่ ๔ และ ๕ ซึ่งกล่าวถึงโลกในบริบทของสัตวโลกและความมีตัวตนที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายเรื่องผลแห่งกรรมดีและชั่วที่ต้องรับผิดชอบ และการไม่ปฏิเสธความมีตัวตน ผลแห่งกรรมดีที่ได้รับจากประสบการณ์ในชีวิตเองก็มีอยู่จริง โดยการตรองในเรื่องนี้ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องคือความสำคัญของสัมมาทิฏฐิในพระพุทธศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-สัมมาทิฏฐิ
-ความมีตัวตน
-กฎแห่งกรรม
-พระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๑ ความมืดจะปรากฏขึ้นทันที ข้อนี้ฉันใดก็ฉันนั้น บุคคลที่มีใจสว่างพอที่จะ ตรองได้เช่นนี้ย่อมไม่พูดว่า “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป บุคคลที่สามารถตรองได้จนเกิดความเข้าใจสัมมาทิฏฐิในระดับที่ ๔ ๔ นี้แล้ว ใจของเขาก็จะสว่างขึ้นอีกระดับหนึ่ง ปัญญาก็จะพัฒนาต่อไป พร้อมๆ กันด้วย จนในที่สุด ก็จะสามารถใช้เหตุผลตรองสาระสำคัญ ของสัมมาทิฏฐิ ในลำดับต่อไปได้ สัมมาทิฏฐิระดับที่ ๕ โลกนี้มี ตามหลักพระพุทธศาสนา คำว่า โลก มีความหมายหลายอย่าง เช่น หมายถึงสังขารร่างกายและใจซึ่งสิงสถิตอยู่ ในร่างกายนั้น(สังขารโลก) หมายถึงหมู่สัตว์ สัตวโลก) หมายถึง แผ่นดิน เป็นที่อาศัย(โอกาสโลก) เป็นต้น สัมมาทิฏฐิระดับที่ ๕ นี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า “โลกนี้มี” เพราะ ฉะนั้น คำว่าโลก ในบริบทนี้ จึงหมายถึงสัตวโลก คือ คน หรือตัวตน ของคน “โลกนี้มี” จึงมีความหมายว่า ตัวเราเองมีจริง คือไม่ปฏิเสธ ความมีตัวตนของตน ดังเช่นเจ้าลัทธิบางคนในสมัยพุทธกาล ที่สอนว่า สัตวโลก คือสิ่งที่ธาตุทั้ง ๔ (ดิน น้ำ ลม ไฟ) มาประชุมรวมกัน ถ้า ธาตุเหล่านี้แยกออกจากกัน ตัวตนของคนหรือสัตว์ก็ไม่มี ซึ่งเท่ากับ ประกาศว่า ใจไม่มี น้ำ ความคิดดังกล่าวคือ การปฏิเสธความมีตัวตน ซึ่งมีนัยว่า ผลของ กรรมดีหรือชั่วไม่มี ใครจะประพฤติตนอย่างไร ไม่ต้องรับผิดชอบ แต่บุคคลที่มีใจสว่าง สามารถตรองได้ด้วยเหตุผล จนเกิดความ เข้าใจถูกเกี่ยวกับกฎแห่งกรรม จะไม่ปฏิเสธความมีตัวตนของตน ไม่ ปฏิเสธผลแห่งการกระทำของตน คือเชื่อกฎแห่งกรรม เพราะได้ประจักษ์ ชัดจากประสบการณ์ในชีวิตแล้วว่า ผลแห่งกรรมดีที่ตนเคยได้รับ เกิด ๒๓
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More