ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ ๖
มิตรแท้และมิตรเทียมปนกันอยู่ในตัว ลักษณะมิตรแท้นั้นต้องอนุรักษ์เอา
ไว้ ส่วนลักษณะมิตรเทียมต้องกำจัดออกไป หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง ว่า
แต่ละฝ่ายต้องรักษาข้อดีของตนไว้ พร้อมกันนั้นก็พยายามถ่ายทอดข้อดี
ให้กันและกัน ส่วนข้อเสียที่แต่ละฝ่ายมีอยู่นั้น ต่างก็ต้องพยายามกันออก
ทิ้งเสีย กำจัดเสีย ไม่ให้แพร่ระบาดออกไปสู่กันและกัน
ถ้าปฏิบัติได้เช่นนี้ แต่ละฝ่ายก็จะเป็นคนดีพร้อม ไม่มีลักษณะ
นิสัยเลวๆ ของมิตรเทียมหลงเหลืออยู่เลย นั่นคือ ทุกคนในสังคมจะเป็น
คนดีหรือมิตรแท้กันหมด
ความคิดเช่นนี้ย่อมเป็นเพียงภาคทฤษฎีเท่านั้น ยากต่อการ
ลงมือปฏิบัติจริง เป็นเรื่องพูดง่ายแต่ทำยาก ส่วนที่ยากก็คือการกำจัด
หรือป้องกันข้อเสียไม่ให้แพร่ระบาดออกไป เพราะตามธรรมดา ใจคนที่ยัง
มีอินทรีย์ไม่แก่กล้าพอ ย่อมเพลี่ยงพล้ำต่ออำนาจกิเลสเสมอ การกำจัด ๑๖๓
หรือกันกิเลสให้หลุดไปจากใจได้นั้น ต้องมีขันติความอดทนสูงพอจึงจะทำได้
ผู้ที่ไม่เคยได้รับการฝึกฝนอบรมในเรื่องความอดทนมาดีพอและต่อเนื่อง
จะไม่สามารถกำจัดกิเลสในตนเองหรือกันกิเลสมีให้แพร่ไปสู่ผู้อื่นได้เลย
แต่การที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดหน้าที่ให้แต่ละคนในทิศ 5
ต้องปฏิบัติ ย่อมเป็นการฝึกปลูกฝังลักษณะนิสัยของคนดีไปพร้อม ๆ กับ
การฝึกความอดทนต่ออานาจกิเลส คือ นับตั้งแต่พ่อแม่ฝึกให้ลูกทำสิ่งดี ๆ
ตั้งแต่ยังเล็ก ชี้ให้ดูว่าสิ่งใดบ้างเป็นเรื่องชั่วแล้วก็ต้องไม่ทำ เมื่อไปโรงเรียน
ครูก็สอนให้ทําดี ๆ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ พระภิกษุก็ยังเน้นย้ำให้ทำดีในระดับ
สูงขึ้นต่อไปอีก ครั้นเมื่อประพฤติปฏิบัติหน้าที่ของคนดี ตามที่ทรง
กำหนดไว้ให้แต่ละทิศจนคุ้นแล้ว คนเราย่อมมี หิริ คือความละอายบาป
และ โอตตัปปะ คือความกลัวบาป ต่อการที่จะประพฤติในสิ่งที่ไม่ดีงาม
ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะ ไม่สมควร หรือสิ่งที่เป็นบาป จึงไม่แสดงพฤติกรรม