ข้อความต้นฉบับในหน้า
១៦៨
คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์
๓. การประพฤติให้เป็นประโยชน์ (อัตถจริยา)
๔. ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลายตามควร (สมานัตตตา)
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกสังคหวัตถุ ๔ ว่า เป็นธรรม
เครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจคนให้อยู่ร่วมกันได้ด้วยความรักและสามัคคี ทั้งทรง
เปรียบสังคหวัตถุ ๔ ว่า เป็นเสมือนเพลา หรือสลักรถที่เชื่อมล้อทั้ง ๒
ด้านไว้จึงทำให้รถแล่นไปได้ ถ้ารถปราศจากเพลาหรือสลักเสียแล้ว ย่อม
แล่นไปไม่ได้ฉันใด ถ้าโลกนี้ขาดสังคหวัตถุธรรมเสียแล้ว ความเคารพ
นับถือกันระหว่างบุคคล ย่อมไม่เกิดขึ้นฉันนั้น เช่นบุตรธิดาก็ไม่มีความ
เคารพนับถือมารดา บิดา เป็นต้น
โดยเหตุนี้ บัณฑิตทั้งหลายจึงให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติสังคห
วัตถุธรรมเป็นอย่างยิ่ง และบุคคลใดก็ตามที่มีอริยวินัยประพฤติปฏิบัติ
สังคหวัตถุธรรมอย่างสม่ำเสมอ ย่อมได้รับการสรรเสริญจากผู้รู้ทั้งหลาย
ข้อคิดเกี่ยวกับสังคหวัตถุธรรม
โดยเหตุที่โลกเรานี้มีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด คนทั่วไปจึง
พยายามกอบโกยทรัพย์สมบัติเข้ามาไว้ในครอบครองให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
แม้จะต้องประพฤติทุจริต คนส่วนมากจึงเห็นแก่ตัว ไร้หิริโอตตัปปะ อยู่
ร่วมกันในสังคมอย่างชนิดที่มือใครยาวสาวได้สาวเอา หาความเมตตากรุณา
ต่อกันได้ยาก คนที่ไม่สมปรารถนาในสิ่งที่ตนอยากได้ก็เป็นทุกข์ หรือได้
น้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ก็เป็นทุกข์ คนในสังคมจึงต่างรู้สึกว่าตนเองอยู่ใน
โลกของความขาดแคลนสารพัด
และความขาดแคลนมีทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม จาก
สังคหวัตถุธรรม ย่อมมีนัยว่า พระองค์ทรงประจักษ์ว่า ความขาดแคลน
อย่างหนักหนาสาหัสของคนเรา มีอยู่ ๔ ประการด้วยกัน คือ
9