การเจริญสมาธิภาวนาในโรงเรียนกัลยาณมิตร คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 309
หน้าที่ 309 / 397

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๘ กล่าวถึงบทบาทของครูในการเจริญสมาธิภาวนาเพื่อป้อนข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่ผู้เรียน และป้องกันการวิพากษ์วิจารณ์จากความไม่รู้ของครูอาจารย์ นอกจากนี้ยังเน้นการควบคุมให้ผู้เรียนสวดมนต์ทำวัตรและเจริญสมาธิภาวนาตามความเหมาะสม โดยมีการประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีควบคู่ไปกับการจัดโอกาสให้คณาจารย์ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ทางธรรมอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนแบ่งกิจกรรมออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ กิจกรรมในหลักสูตรและกิจกรรมนอกหลักสูตร โดยเนื้อหาสาระทางธรรมจะถูกรวมเข้าในหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อบรรลุมาตรฐานที่กำหนดใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ.

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของครูในการเจริญสมาธิภาวนา
-กิจกรรมการศึกษาในโรงเรียน
-การจัดกิจกรรมทางธรรม
-การพัฒนาครูและผู้เรียน
-มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๘o ๔) ต้องมีประสบการณ์ในการเจริญสมาธิภาวนา เพื่อจะได้สามารถ ป้อนข้อมูลที่ถูกต้อง ให้แก่ผู้เรียน ทั้งจะเป็นการป้องกันไม่ให้ครูอาจารย์บาง คนวิพากษ์วิจารณ์การเจริญสมาธิภาวนา เพราะความไม่รู้ของตน ๕) สามารถควบคุมให้ผู้เรียนในชั้นของตน สวดมนต์ทำวัตร และเจริญสมาธิภาวนา ตามความเหมาะสม ๖) ต้องประพฤติตนเป็นตัวอย่าง กัลยาณมิตร ให้แก่ศิษย์เสมอ นอกจากนี้ทางโรงเรียน ควรจัดให้คณาจารย์ ได้มีโอกาสศึกษา และปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์ทางธรรม เป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม กิจกรรมของโรงเรียนกัลยาณมิตร คอ กิจกรรมของโรงเรียนกัลยาณมิตร อาจแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ๑. กิจกรรมในหลักสูตร ๒. กิจกรรมนอกหลักสูตร ๑. กิจกรรมในหลักสูตร ๑.๑ ทางโรงเรียนจะต้องนำเนื้อหาสาระทางธรรม ที่นำเสนอไว้ใน หัวข้อ “หลักสูตรวิชาศาสนาของโรงเรียนกัลยาณมิตร” เข้ามาจัดการเรียน การสอนในชั้นเรียนตามปกติ โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นทั้งหมด (พิจารณาตามความเหมาะสม) ของหลักสูตรวิชาศาสนาที่โรงเรียนจัดทำเอง ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุมาตรฐานที่ ๑ ด้านผู้เรียนตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ២៩៥
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More