เป้าหมายชีวิตในพระพุทธศาสนา คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 287
หน้าที่ 287 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงเป้าหมายชีวิตของมนุษย์ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) เป้าหมายชีวิตระดับต้น ที่เน้นการประกอบสัมมาอาชีวะและปฏิบัติตามหลักธรรม 4 ประการเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิต 2) เป้าหมายชีวิตระดับกลาง ที่มุ่งหวังไปสู่สุคติโลกหลังความตาย โดยการสะสมบุญกุศลทั้ง 4 ประการ 3) โอวาทปาติโมกข์ ซึ่งเป็นคำสอนสำคัญที่สะท้อนนิสัยของผู้ที่มีจิตใจดีและทำความดี การบรรลุเป้าหมายเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตใจและความเชื่อมั่นในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า. สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

- เป้าหมายชีวิตระดับต้น
- เป้าหมายชีวิตระดับกลาง
- โอวาทปาติโมกข์
- การสร้างคุณความดี
- หลักธรรมในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๘ เป้าหมายชีวิตของคนเราคือการสร้างคุณความดี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ระดับ ดังนี้ ๑. เป้าหมายชีวิตระดับต้น เป็นเป้าหมายเพื่อให้ตั้งตัวได้ใน ชาตินี้ ด้วยการประกอบสัมมาอาชีวะ เพื่อเลี้ยงตน ครอบครัว มารดาบิดา และบริวารให้มีความสุข โดยไม่เกี่ยวข้องพัวพันกับเรื่องทุจริต หรือมิจฉา อาชีวะทั้งปวง ใครก็ตามที่เกี่ยวข้องพัวพันกับอาชีพทุจริตผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม และฉ้อราษฎร์บังหลวง ถือว่ายังไม่บรรลุเป้าหมายชีวิตระดับ ต้น การที่จะบรรลุเป้าหมายระดับนี้จะต้องดำเนินชีวิตตามหลักธรรม ๔ ประการ คือ ๑) หาเป็น (อุฏฐานสัมปทา) ๒) เก็บเป็น (อารักขสัมปทา) ๓) สร้างเครือข่ายคนที่เป็น (กัลยาณมิตตตา) ๔) ใช้เป็น (สมชีวิตา) ซึ่งมีคำย่อเป็นที่รู้จักว่า อุ อา ก ส (อุ, อา, กะ, สะ) ๒. เป้าหมายชีวิตระดับกลาง เป็นเป้าหมายเพื่อไปสู่สุคติโลก สวรรค์ภายหลังความตาย การที่จะบรรลุเป้าหมายระดับนี้ได้ จะต้อง สะสมบุญกุศลเพื่อโลกหน้า ๔ ประการ ๔ คือ ๑) ศรัทธา ๒) ศีล ๓) จาคะ ๔) ปัญญา ให้บริบูรณ์พร้อม โดยทั่วไปแล้วผู้ที่จะบรรลุเป้าหมาย ระดับกลางได้ ย่อมต้องสามารถบรรลุเป้าหมายระดับต้นให้ได้เสียก่อน มี ฉะนั้นย่อมเป็นการยากที่จะบรรลุเป้าหมายระดับนี้ ๓. โอวาทปาติโมกข์ คือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีสาระสำคัญโดยหลักการ ๓ ประการ คือ (๑) ไม่ทำชั่วทั้งปวง (๒) ทำแต่ความดี (๓) ทำจิตใจให้ผ่องใส (ด้วย การเจริญสมาธิภาวนาเมตตา) โดยวิธีการ 5 ประการ คือ ๑) ไม่ว่าร้าย ๒) ไม่ทำร้าย ๓)สำรวมในศีล ๔) รู้จักประมาณในการกินอาหาร ๕) อยู่ในที่สงบ (ไม่ไปตามสถานที่ที่ ไม่ควรไป) 5) เจริญสมาธิภาวนา ๔ ทีฆชาณุสูตร อัง อัฏฐก. มก. ๓๗/๑๔๔/๕๖๐ ๒๗๓
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More