การคิดและการพูดที่มีคุณค่า คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 45
หน้าที่ 45 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงการมีความคิดสร้างสรรค์และการพูดที่ถูกต้องตามหลักธรรม ส่งเสริมให้ผู้คนคิดทำความดีตลอดไป เพื่อป้องกันการทำลายตนเองและผู้อื่น เนื้อหายังนำเสนอถึงพลังของคำพูดที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์และพฤติกรรม โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เกิดความโกรธ ซึ่งการพูดดีสามารถช่วยลดอารมณ์ที่ไม่ดีได้ เช่นเดียวกับการอบรมสั่งสอนลูกด้วยความรักและความเข้าใจ ทำให้เห็นความสำคัญของการฝึกฝนจิตใจและการพัฒนานิสัยที่ดี

หัวข้อประเด็น

-ความคิดสร้างสรรค์
-การพูดที่ดี
-การสร้างกรรมดี
-พฤติกรรมและอารมณ์
-การอบรมสั่งสอนลูก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๑ ไม่ลังเลสงสัย มีแต่ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดถูกต้องตามทำนองคลอง ธรรม ไม่คิดทำลายล้างผลาญ ทว่าคิดแต่จะสร้างกรรมดีตลอดไป เพื่อที่ จะได้เป็นคนดีสมบูรณ์พร้อมตามอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรืออย่าง น้อยก็เป็นการทำความดีเพื่อความดี มิใช่ความดีเพื่อลาภผลอย่างอื่น ความ คิดเช่นนี้ คือ ความคิดชอบ ความคิดที่ดีงาม หรือความคิดถูกต้อง ความคิดถูกต้องนี้เมื่อแก่กล้ากลายเป็นนิสัยขึ้นก็จะมีฤทธิ์มีอำนาจ สามารถควบคุมอวัยวะ คือปาก ให้เลือกพูดเฉพาะที่ดีๆ ไม่พูดเท็จ ไม่ พูดชั่ว ดังที่มีถ้อยคำสำนวนใช้กันว่า พูดชอบ พูดดี หรือพูดถูกต้อง นนเอง การพูดถูกต้องอยู่เป็นประจำจนกลายเป็นนิสัยนี้จะมีพลังอำนาจ ควบคุมกาย ให้แสดงแต่พฤติกรรมดีมีมารยาทดี เว้นพฤติกรรมชั่ว และมารยาทชั่วอื่นๆ ได้ เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องเข้าใจยากสักหน่อย แต่ถ้าท่านลองย้อนระลึก ถึงประสบการณ์ของท่านเอง แล้วจะเข้าใจดี เช่น ในกรณีที่เด็กคนหนึ่ง ทำชามแก้วเจียระไนราคาแพงแตก แน่นอนผู้เป็นแม่ย่อมเสียดายและโกรธ ลูก ถ้าผู้เป็นแม่หลุดปากด่าทอลูกด้วยถ้อยคำหยาบคาย ค่าพูดชั่ว หรือ การพูดที่ไม่ถูกต้อง คำพูดชั่วนั้น จะโหมกระพืออุณหภูมิความโกรธของ ผู้เป็นแม่ขึ้น จนถึงกับเฆี่ยนตีลูกอย่างรุนแรงได้ ในทางกลับกัน ทั้งๆ ที่รู้สึกเสียดายชาม และรู้สึกโกรธลูก แต่ ถ้าท่านทําใจได้ถึงกับหลุดปากออกมาเองว่า “ไม่เป็นไร” หรือ “ช่างเถอะ วันหลังระวังให้ดีกว่านี้” ท่านย่อมจะไม่เฆี่ยนตีลูกอย่างแน่นอน แต่ท่าน ย่อมจะมีคำพูดที่ถูกต้อง อบรมสั่งสอนลูกให้เพิ่มความระมัดระวัง ไม่ ประมาท ไม่ทำข้าวของเสียหาย ทั้งนี้เพราะคำพูดดีของผู้เป็นแม่คนนั้น สามารถลดดีกรีความโกรธของตนลงได้ จึงสามารถทำดี หรือไม่ทำกรรมชั่ว ด้วยการเฆี่ยนตีลูกด้วยอารมณ์ ๑๑
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More