สัมมาทิฏฐิและการบูชายัญในพระพุทธศาสนา คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 33
หน้าที่ 33 / 397

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๑ ของเนื้อหานี้พูดถึงเรื่องสัมมาทิฏฐิและการบูชายัญในพระพุทธศาสนา โดยเริ่มจากการเน้นคุณค่าและผลที่เกิดจากการทำทานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยพัฒนาจิตใจและทำให้สามารถตรองเหตุต่าง ๆ เกี่ยวกับสัมมาทิฏฐิได้ดียิ่งขึ้น สัมมาทิฏฐิระดับที่ ๒ เน้นบทบาทของยัญที่บูชาเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น โดยการสงเคราะห์แบบไม่หวังผลตอบแทน และมุ่งหวังให้ผู้รับได้รับความสุข ความสะดวกสบาย โดยมีการเสนอแนวทางการช่วยเหลือบุคคลที่ต้องการในหลายเรื่อง เช่น การให้ปัจจัยแก่ผู้ทุพลภาพ การอุปถัมภ์นักบวช การส่งเสริมเกษตรกร และการช่วยผู้ประสบภัยในเรื่องต่าง ๆ เนื้อหานี้เป็นการแนะนำแนวทางการทำความดีสำหรับสังคมที่สามารถทำได้ทุกคน

หัวข้อประเด็น

-สัมมาทิฏฐิ
-การบูชายัญ
-การให้ในพระพุทธศาสนา
-การช่วยเหลือสังคม
-การส่งเสริมผู้ด้อยโอกาส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๑ ค่า จึงตรัสว่า “ทานที่ให้แล้วมีผล ยิ่งกว่านั้น ถ้าการท่าทานดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเกิด เป็นลักษณะนิสัย ใจก็จะพัฒนาขึ้น จนสามารถตรองหาเหตุผลเกี่ยวกับ องค์แห่งสัมมาทิฏฐิระดับถัดไปได้ถูก สัมมาทิฏฐิระดับที่ ๒ ยัญที่บูชาแล้วมีผล เมื่อกล่าวถึง ยัญ บุคคล โดยทั่วไปมักนึกถึงการฆ่าสัตว์บูชาเทพเจ้าเพื่อให้ตนพ้นเคราะห์ร้าย ใน สมัยโบราณก็มีชนบางชาติฆ่าคนเพื่อบูชายัญ ส่วนยัญที่พระพุทธองค์ทรง สอนให้บูชา ในสัมมาทิฏฐิข้อนี้ มีความหมายแตกต่างโดยสิ้นเชิง ค่าว่า การบูชายัญ ในพระพทุธศาสนา หมายถึงการสงเคราะห์ ด้วยความปรารถนาดี โดยไม่หวังการตอบแทน ขอแต่เพียงให้ผู้ที่รับการ สงเคราะห์ได้รับความสุข ความสะดวก สบายก็พอใจแล้ว อย่างไรก็ตาม สาระสำคัญแห่งสัมมาทิฏฐิระดับ ๒ อาจสรุปให้ เข้าใจง่าย ได้ ๒ ประการ ดังนี้ ๑) ช่วยเหลือในเรื่องที่ถูกที่ควรแก่บุคคลที่สมควร เช่น การให้ ปัจจัย ๔ แก่บุคคลทุพลภาพและคนชราที่ขาดที่พึ่ง การช่วยเหลือเด็ก และเยาวชนที่มีปัญหาในด้านต่างๆ ซึ่งรอคอยความช่วยเหลืออยู่ การ อุปถัมภ์สมณชีพราหมณ์ หรือนักบวช ให้มีความสะดวกในการปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นบุคคลต้นแบบแห่งความดีและสามารถสั่งสอนอบรมผู้คนในสังคม ให้เป็นคนดีที่โลกต้องการได้ ๒) ส่งเสริมบุคคลที่ควรส่งเสริม เช่น การแจกปัจจัยในการยังชีพ แก่ประชาชนผู้ประสบภัยธรรมชาติต่างๆ การส่งเสริมเกษตรกรผู้ผลิตใน ด้านความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่เกี่ยวกับการผลิต เป็นต้น ១៩
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More